สานต่อมรดกการเดินเรือ มุ่งหน้าสู่ชายฝั่งแดนไกล

ปักกิ่ง–14 พฤศจิกายน 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

รายงานโดยไชน่า เดลี (China Daily)

ณ สวนสาธารณะเจิ้งเหอ (Zheng He Park) ในเมืองไท่ชาง มณฑลเจียงซู มีเรือจำลองขนาดใหญ่ของเจิ้งเหอ ซึ่งเป็นนักเดินเรือและนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ของจีน จอดทอดสมออยู่ริมทะเลสาบ


A staff member at Taicang Port in Jiangsu province briefs foreign journalists about the port’s operations on Oct 27 during the 2023 Hi Jiangsu Media Trip. The event has been held seven times since its launch in 2015 as a platform to introduce Jiangsu to overseas audiences. [Photo/China Daily]

เจิ้งเหอนำกองเรือออกเดินทางจากเมืองไท่ชางเพื่อสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง ในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644) โดยมุ่งสู่จุดหมายปลายทางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และไกลออกไปถึงแอฟริกา โดยเหล่าลูกเรือได้ไปเยือนดินแดนต่าง ๆ มากกว่า 30 ประเทศและภูมิภาค

การออกเดินทางสำรวจของเจิ้งเหอได้ขับเคลื่อนเส้นทางสายไหมทางทะเลโบราณไปข้างหน้า โดยกองเรือได้นำผ้าไหมจีน เครื่องลายคราม และชา ไปเผยแพร่ยังจุดหมายปลายทาง อีกทั้งยังแบ่งปันความรู้ด้านการเกษตร การผลิตสิ่งทอ และการทำประมงให้แก่คนในท้องถิ่น อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรไม่ว่าจะไปแห่งหนใดก็ตาม

สำหรับขากลับนั้น กองเรือของเจิ้งเหอก็ได้นำสมบัติล้ำค่าต่าง ๆ เช่น อัญมณี เครื่องเทศ สมุนไพร และสัตว์หายากกลับมาด้วย

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะผู้สื่อข่าวต่างชาติได้เยี่ยมชมหอรำลึกเจิ้งเหอ (Zheng He Memorial Hall) ในเมืองไท่ชาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “Hi Jiangsu Media Trip 2023” เพื่อเรียนรู้อย่างลึกซึ้งถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของเมืองไท่ชางทั้งในด้านสันติภาพ ความร่วมมือ และการเปิดกว้าง

กิจกรรมนี้ร่วมกันจัดโดยสำนักสารสนเทศและสำนักกิจการต่างประเทศของรัฐบาลท้องถิ่นมณฑลเจียงซู และ ไชน่า เดลี โดยผู้สื่อข่าวต่างชาติที่เข้าร่วมกิจกรรมมาจากหลายประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งทุกประเทศล้วนมีส่วนร่วมในข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI)

คณะผู้สื่อข่าวได้เยี่ยมเยือนเมืองหนานจิง หยางโจว เหลียนอวิ๋นกั่ง และไท่ชาง ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการบูรณาการเชิงลึกของมณฑลเจียงซูเข้ากับข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

มณฑลเจียงซูตั้งอยู่บนจุดตัดของแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (Silk Road Economic Belt) กับเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Maritime Silk Road) ซึ่งหลอมรวมกันเป็นข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง โดยตลอดทศวรรษที่ผ่านมา มณฑลเจียงซูได้ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และมีบทบาทสำคัญภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง

กิจกรรมนี้ประกอบด้วยการเยี่ยมชมรถไฟด่วนขนส่งระหว่างประเทศหนานจิง ฐานความร่วมมือด้านโลจิสติกส์จีน-คาซัคสถาน (เหลียนอวิ๋นกั่ง) และท่าเรือไท่ชาง เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความพยายามของมณฑลเจียงซูในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและการค้าในหมู่ประเทศที่เข้าร่วมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง

คุณอับดุล วาจิด ข่าน (Abdul Wajid Khan) นักวิชาการวิจัยและผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว อินดีเพนเดนท์ นิวส์ ปากีสถาน (Independent News Pakistan) ซึ่งเขาร่วมกิจการในครั้งนี้ กล่าวว่า “มณฑลเจียงซูจะเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง ซึ่งจะช่วยให้ประเทศเหล่านี้ได้พัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้ทันสมัย โดยได้รับอานิสงส์จากขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมไฮเทคของมณฑลเจียงซู”

เรือจำลองของเจิ้งเหอคงไม่มีวันได้ออกเรือ แต่มรดกตกทอดของนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ยังคงได้รับการสานต่อที่ท่าเรือไท่ชางและท่าเรือเหลียนอวิ๋นกั่งอันคึกคัก ซึ่งทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ตลอดจนเผยแพร่หลักความร่วมมืออย่างสันติและประโยชน์ร่วมกันไปสู่ชายฝั่งของดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

Source : ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางนำความคึกคักมาสู่อุตสาหกรรมเดินเรือมณฑลเจียงซู

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.