กวางตุ้ง, จีน, 16 กันยายน 2567 /PRNewswire/ — ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง นครกวางโจวของมณฑลกวางตุ้งก็ได้เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก พ่อค้าต่างชาติจำนวนมากเดินทางมาตามเส้นทางสายไหมทางทะเล ทำให้ประวัติศาสตร์การค้าระหว่างจีนและต่างประเทศมาบรรจบกันที่นี่

Participants take part in the 135th Canton Fair (Photo taken by Zhang Zhitao and Li Zhanjun from Southern Metropolis Daily)
Participants take part in the 135th Canton Fair (Photo taken by Zhang Zhitao and Li Zhanjun from Southern Metropolis Daily)

หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น มณฑลกวางตุ้งก็กลายเป็น “หน้าต่างการค้า” ของจีนมาโดยตลอด เพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศและตอบสนองความต้องการของการนำเข้าสินค้าจำนวนมากสำหรับการสร้างสรรค์เศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1955 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1956 หน่วยงานที่รับผิดชอบการค้าต่างประเทศของมณฑลกวางตุ้งได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนสินค้าส่งออกสามครั้งโดยอาศัยข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับฮ่องกงและมาเก๊า ในบริบทนี้ กระทรวงการค้าต่างประเทศเดิมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของมณฑลกวางตุ้งได้พิจารณาจัดงานแสดงสินค้าส่งออกแห่งชาติในเมืองกวางโจว ดังนั้น ระหว่างวันที่ 25 เมษายนถึง 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1957 งานแคนตันแฟร์ครั้งที่ 1 จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ มีพื้นที่จัดแสดง 9,600 ตารางเมตร แสดงสินค้าทั้งหมด 10,900 รายการ และมีผู้ซื้อเข้าร่วมงาน 1,223 คนจาก 19 ประเทศและเขตแคว้น มูลค่ายอดส่งออก 17.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบัน แคนตันแฟร์ได้กลายเป็นงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศที่มีประวัติยาวนานที่สุดและใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “งานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของจีน” จนถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2024 งานแสดงสินค้านี้ได้จัดไปแล้วถึง 135 ครั้ง และได้สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับ 229 ประเทศและเขตแคว้นทั่วโลก โดยมียอดขายส่งออกรวมประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าจากต่างประเทศกว่า 9.3 ล้านคน ช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีนกับประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

ในปีค.ศ. 2015 เขตทดลองการค้าเสรีจีน (กวางตุ้ง) ได้ก่อตั้งขึ้นในเมืองเซินเจิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในรุ่นที่สองของเขตการค้าเสรีที่ได้รับการอนุมัติให้ก่อตั้งในประเทศจีน Johannes Jozef Bults นักธุรกิจชาวเนเธอร์แลนด์ที่อาศัยอยู่ในเขตทดลองการค้าเสรีเฉียนไห่-สือโข่วของเซินเจิ้นกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจทำการนำเข้าและส่งออก การก่อตั้งเขตทดลองการค้าเสรีทำให้เขารู้สึกอย่างชัดเจนว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการปรับปรุงดีขึ้นเรื่อย ๆ  “ตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทไปจนถึงการดำเนินธุรกิจ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนในทุกด้าน ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น”

ดร.กู ชิงหยาง รองศาสตราจารย์สถาบันการเมืองสาธารณะหลีกวนยู มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กล่าวว่า ขณะนี้จีนกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการพัฒนา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามณฑลกวางตุ้งจะยังคงสืบสานจิตวิญญาณของผู้บุกเบิกที่กล้าท้าทายและทดลอง เพื่อสำรวจเส้นทางสู่การพัฒนาแบบมีคุณภาพสูงของจีนอย่างกล้าหาญ

ตั้งแต่ปีค.ศ. 2024 เป็นต้นมา คำว่า “ผลิตภาพใหม่”  ได้กลายเป็นคำที่พูดถึงบ่อยครั้งในสาขาต่าง ๆ ของหลาย ๆ พื้นของมณฑลกวางตุ้ง โดยมณฑลกวางตุ้งจะยังคงยึดมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงและมุ่งเน้นไปที่การผลิต โดยสร้างระบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัยซึ่งมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก และเร่งสร้างผลิตภาพใหม่ นอกจากนี้ มณฑลกวางตุ้งยังจะเน้นการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกัน การยกระดับความร่วมมือด้านการค้าระหว่างประเทศ การเร่งการลงทุนในอุตสาหกรรม และการผลักดันความร่วมมือในด้านการพัฒนาทางทะเล รวมถึงการปรับปรุงเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างทางทะเล ทางบก และทางอากาศ ส่งเสริมการเปิดกว้างด้านกฎระเบียบ การบริหารจัดการ และมาตรฐานต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า

จิตวิญญาณแห่งการเปิดกว้างแห่งเส้นทางสายไหมทางทะเลยังคงสืบทอดกันต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ปัจจุบัน มณฑลกวางตุ้งได้กลายเป็นภาพสะท้อนที่สำคัญของการปฏิรูปและเปิดประเทศของจีน และเป็นหน้าต่างที่ทำให้โลกได้เข้าใจและเข้าถึงประเทศจีนมากขึ้น

ผู้ติดต่อ   Meii Zhang
โทรศัพท์  0086-18611686759
อีเมล    1713543383@qq.com

รูปถ่าย: https://mma.prnasia.com/media2/2506121/Guangdong_Province.jpg?p=medium600

Source : จากเส้นทางสายไหมทางทะเลสู่ "หน้าต่างการค้า" มณฑลกวางตุ้งส่งเสริมการเปิดกว้างอย่างต่อเนื่อง

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.