เซินเจิ้น, จีน, 31 พ.ค. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ — ภายในปี 2583 คาดว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer หรือ CRC) จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิต 1.6 ล้านรายต่อปี คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 66% และ 71% ในผู้ป่วยใหม่และผู้เสียชีวิตตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2563
เพื่อรับมือภาระมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกให้ดีขึ้นและลดผลกระทบ BGI Genomics จึงได้เปิดตัวรายงานการตระหนักรู้มะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกฉบับที่สอง ซึ่งครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถาม 1,938 รายจากบราซิล (306 คน) จีน (367 คน) โปแลนด์ (300 คน) ซาอุดีอาระเบีย (300 คน) ) ไทย (362) และอุรุกวัย (303):
ช่องว่างการคัดกรองมะเร็งลำไส้ต่างกันไปทั่วโลก: เกือบครึ่งหนึ่ง (49.3%) ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ โดยมีสัดส่วนสูงสุดในซาอุดีอาระเบีย (62.0%) และโปแลนด์ (61.0%)
การเลือกตรวจอุจจาระมากกว่าการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่: แม้ว่าการส่องกล้องตรวจจะได้รับการยอมรับมากกว่า (33.4%) แต่การตรวจอุจจาระที่สถานพยาบาลก็เป็นที่นิยมมากกว่า (31.8%) สะท้อนถึงแนวโน้มไปสู่วิธีการที่ไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย
ค่าใช้จ่ายและความกลัวเป็นตัวกำหนดทางเลือกการตรวจคัดกรอง: ความกลัวการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (18.2%) และค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง (17.7%) เป็นอุปสรรคใหญ่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โปแลนด์ (24.7%) และอุรุกวัย (21.0%) ระบุว่ามีความกลัวการส่องกล้องลำไส้ใหญ่มากที่สุด ในขณะที่ไทย (24.5%) และบราซิล (20%) ระบุว่ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากที่สุด
คำแนะนำทางการแพทย์และประวัติครอบครัวคือปัจจัยผลักดันการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่: คำแนะนำของแพทย์เป็นปัจจัยหลักในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (30.5% ทั่วโลก) โดยอุรุกวัยแสดงการปฏิบัติตามคำแนะนำสูงที่สุด (44.1%) นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความกระตือรือร้นในการตรวจคัดกรองมากกว่า (64.5%) เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป (35.0%)
ศาสตราจารย์วรุตม์ โลหะสิริวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอข้อมูลเชิงลึกต่อรายงานฉบับนี้ โดยแนะนำว่า: “สาระสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีประสิทธิผลอยู่ที่การที่ผู้ป่วยยอมรับและปฏิบัติตามวิธีการตรวจคัดกรอง วิธีการตรวจคัดกรองที่ดีที่สุดคือวิธีที่ผู้ป่วยยอมรับและปฏิบัติตาม เพราะนั่นคือวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างแท้จริง”
ดร. Zhu Shida รองผู้จัดการทั่วไปของ BGI Genomics กล่าวว่า “ที่ BGI Genomics เรามุ่งเน้นความพยายามในการพัฒนาเทคนิคการทดสอบอณูชีววิทยาขั้นสูงเพื่อปิดช่องว่าง [ระหว่างการยอมรับและการบริการเข้าถึง] เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนให้มะเร็งลำไส้ใหญ่จากโรคที่อันตรายถึงชีวิตเป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ด้วยการตรวจคัดกรองแต่เนิ่น ๆ อย่างแพร่หลายและการผ่าตัด”
สามารถดูการเปรียบเทียบระดับภูมิภาคเพิ่มเติมได้ที่รายงานสถานะการตระหนักรู้โรคมะเร็งลำไส้ประจำปี 2567 ของ BGI Genomics ฉบับเต็ม
ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายงานฉบับนี้มาจากผลโครงการสำรวจออนไลน์ที่ดำเนินการโดย BGI Genomics โดยสำรวจความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
Source : ประชากรโลกหนึ่งในหกกังวลค่าใช้จ่ายตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.