เบอร์ลิน, 26 เมษายน 2567 /PRNewswire/ — ดร.สุลต่าน อัล จาเบอร์ ประธาน COP28 ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ‘คิดให้ใหญ่ ทำให้ถึง’ ในแผนส่งเสริมสภาพภูมิอากาศระดับชาติ โดยได้มีถ้อยแถลงดังกล่าวในการประชุมระดับสูง ณ การประชุมปีเตอร์สเบิร์ก ไคลเมต ไดอะล็อก (Petersberg Climate Dialogue) ประจำปี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ (Olaf Scholz) ของเยอรมนี ประธานาธิบดีอิลฮัม อาลีเยฟ (Ilham Aliyev) ของอาเซอร์ไบจาน และรัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศและการต่างประเทศเข้าร่วมมากมาย
ประธาน COP28 ได้เน้นย้ำว่า ฉันทมติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้กลายเป็นแบบอย่างที่ทั่วโลกใช้อ้างอิงเพื่อดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่ที่ก่อตั้งขึ้นในดูไบเมื่อปีที่แล้ว
“ฉันทมติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการทูตด้านสภาพภูมิอากาศ เพราะเกิดความคืบหน้าครอบคลุมหลายภาคส่วนในเรื่องสภาพภูมิอากาศ” ดร.อัล จาเบอร์ ประกาศ “เมื่อรวมพลังกันแล้ว เราก็ได้เข้ามาวางแนวทางที่ชัดเจนในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโดยมีวิทยาศาสตร์รองรับ และตามรอยทางแสงสว่างแห่งดาวเหนือเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศา”
ดร.อัล จาเบอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในเรื่องพลังงานหมุนเวียนระดับโลกเป็นครั้งแรก เราได้เข้ามากำหนดเป้าหมายด้านธรรมชาติเป็นครั้งแรกมากมาย โดยได้กำหนดเป้าหมายในการยุติการตัดไม้ทำลายป่าให้ได้ภายในปี 2573 เราได้เกิดความก้าวหน้าในด้านการเงิน แก้ไขปัญหาด้านความสูญเสียและเสียหายที่ติดขัดมานานถึง 30 ปีเป็นผลสำเร็จ และเริ่มเติมเงินทุนที่มีบทบาทสำคัญต่อความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ เรายังได้นำภาคส่วนที่อาจไม่ได้รับความสนใจมากพอ เช่น อาหารและสุขภาพ มารวมไว้ในวาระของ COP เป็นครั้งแรกด้วย และเราทำทั้งหมดนี้ได้แม้ต้องเผชิญกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายยังคงได้ผล และความสามัคคีเป็นสิ่งที่เอาชนะการแบ่งขั้วได้ สรุปได้ว่า เราได้ส่งข้อความแห่งความหวัง การมองโลกในแง่ดี และการไม่แบ่งแยก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในโลกทุกวันนี้”
คอป เพรซิเดนซีส์ ทรอยกา (COP Presidencies Troika) เป็นโครงการริเริ่มที่มีเป้าหมายเพื่อผลักดันความต่อเนื่องระหว่าง COP28, COP29 และ COP30 และขับเคลื่อนการดำเนินการตามฉันทมติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โครงการดังกล่าวกำลังผลักดันให้รัฐบาลต่าง ๆ “มีความทะเยอทะยานมากขึ้น” เมื่อวางแผนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ครั้งต่อไป ดร.อัล จาเบอร์ กล่าวว่า รัฐบาลควรกำหนดแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทั้งระบบเศรษฐกิจ และจัดทำแผนสนับสนุนการปรับตัวระดับชาติที่ “ได้รับทุนสนับสนุนอย่างดี” เพื่อปกป้องธรรมชาติและพลิกโฉมระบบอาหาร
“ผมเพียงต้องการส่งข้อความถึงรัฐบาลประเทศต่าง ๆ เพื่อคิดให้ใหญ่ ทำให้ถึง” ดร.อัล จาเบอร์ กล่าวต่อผู้แทนในการประชุม “ส่งข้อความให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วย NDC ครั้งถัดไป โดยยกให้โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวเป็นหัวใจสำคัญในแผนการพัฒนา”
ประธาน COP28 ยังสนับสนุน “นโยบายอันชาญฉลาดที่ผลักดันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้ก้าวไปอีกขั้น และจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุน” และเสริมว่า “เรากำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบที่สะท้อนโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก พูดง่าย ๆ ก็คือ โลกของเราจะดีขึ้นหลังการพลิกโฉมครั้งนี้ แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการลงทุนจำนวนมากและไม่มีการยกระดับการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ”
ดร.อัล จาเบอร์ ได้เน้นย้ำประเด็นสำคัญในการลงทุน 4 ประการ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ผู้คน และประเทศโลกใต้ โดยในด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น ทั่วโลกจำเป็นต้องลงทุนอย่างน้อย 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปี 2573 ในการพัฒนากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 11 เทราวัตต์ ด้วย “การลงทุนในระดับที่ใกล้เคียงกัน” ในโครงข่ายพลังงานที่ล้าสมัยหรือไม่มีอยู่ตั้งแต่แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
ปัญญาประดิษฐ์ “เป็นตัวเปลี่ยนเกมได้” โดยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหาท้าทายในเรื่องความแปรปรวนของพลังงานหมุนเวียน ทั้งยังลดการใช้น้ำได้อีกด้วย “ยิ่งเรานำเอไอมาใช้ในภาคส่วนที่ใช้พลังงานและน้ำจำนวนมากได้เร็วเท่าไร ก็จะได้ประโยชน์จากเอไอได้เร็วขึ้นเท่านั้น”
ทุกประเทศควรลงทุนในบุคลากรของตนด้วย เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ในการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวรูปแบบใหม่ ในขณะที่ดร.อัล จาเบอร์ ย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มการลงทุนในประเทศโลกใต้ว่า “ขณะนี้ ประเทศกำลังพัฒนากว่า 120 ประเทศดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีสะอาดได้ไม่ถึง 15% ของทั้งโลก” และเสริมว่า “ธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคีจำเป็นต้องทำให้การเงินมีพร้อมมากขึ้น เข้าถึงได้ และราคาไม่แพง”
ดร.อัล จาเบอร์ เปิดเผยว่า การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและ “จะเกิดขึ้นในจังหวะที่ต่างกันในสถานที่ต่าง ๆ และเราจะถอดปลั๊กระบบพลังงานในปัจจุบันไม่ได้จนกว่าจะมีการสร้างระบบใหม่” นอกจากนี้ยังจะต้องยุติธรรม เสมอภาค และมีความรับผิดชอบ สอดรับกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในฉันทมติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ในระหว่างการประชุมไคลเมต ไดอะล็อก ทางคอป เพรซิเดนซีส์ ทรอยกา ยังได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมัจลิส (Majlis) ที่มีรากฐานมาจากประเพณีที่มีมายาวนานของชาวเอมิเรตส์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานด้วย
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.