กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ — ชาวไทยถึง 1 ใน 4 (25%) ระบุว่าตนเองมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยมีเพียง 11% ที่ระบุว่าตนเองมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ตามรายงาน Weight Management Diets – Thai Consumer – 2024 โดย Mintel อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขของไทยในปี 2566 เผยให้เห็นว่าประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศได้เผชิญกับปัญหาน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยคาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้จะส่งผลให้ประเทศสูญเสีย GDP ไปถึง 4.9%
ผลสำรวจนี้ได้ตอกย้ำถึงช่องว่างของมุมมองที่สำคัญ ดังที่ระบุไว้ในการวิจัยของ Mintel ซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปิดช่องว่างนี้ได้ผ่านการสร้างแคมเปญให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่สมดุล และนำเสนอวิธีการจัดการน้ำหนักที่เหมาะกับแต่ละบุคคลโดยพิจารณาจากเพศ อายุ และพฤติกรรมการออกกำลังกายระดับกิจกรรม
แรงบันดาลใจในการควบคุมน้ำหนัก
ผลการวิจัยของ Mintel ระบุว่าชาวไทยให้ความสำคัญกับประเด็นของรูปลักษณ์ภายนอก (69%) มากกว่าสุขภาพ (65%) ในการควบคุมน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มเจน X ถึง 76% ให้ความสำคัญกับการมีอายุยืนยาวและมีสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านจากการให้ความสำคัญกับความงามไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมเมื่ออายุมากขึ้น
ข่าวดีก็คือคนไทย 74% มีความต้องการที่จะปรับปรุงน้ำหนักของตน และผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 45 ปี กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนัก
“คนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพและสุขภาวะที่ดีโดยรวมมากกว่าแค่ความผอมเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในแนวทางแบบองค์รวมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้ผสมผสานโภชนาการที่สมดุล การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และสุขภาพจิตที่ดีเข้าด้วยกัน” Phurisa (Ploy) Phagudom นักวิเคราะห์อาหารและเครื่องดื่มประจำประเทศไทยของ Mintel กล่าว
อุปสรรคในการควบคุมน้ำหนัก
ชาวไทยจำนวนมากมีความต้องการทะเยอทะยานที่จะลดน้ำหนัก แต่ยังคงประสบปัญหาในการควบคุมน้ำหนัก อันเนื่องมาจากการออกกำลังกายไม่เพียงพอ การทานอาหารที่มีไขมันสูง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม โดยผู้คนกว่า 59% ในกลุ่มผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ระบุว่าการออกกำลังกายไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคหลักในเรื่องนี้
Phagudom กล่าวว่านี่เป็นโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ทำการโปรโมตโภชนาการที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญที่สนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกาย
รายงานได้ระบุกลุ่มผู้บริโภคหลักสองกลุ่มสำหรับผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักดังนี้:
• ผู้ที่ออกกำลังกาย ผู้บริโภคที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
• ผู้ที่อยากออกกำลังกาย ผู้ที่อยากออกกำลังกายมากขึ้น แต่ไม่ได้ออกกำลังกายอยู่ในขณะนี้
“‘ผู้ที่ออกกำลังกาย’ และ ‘ผู้ที่อยากออกกำลังกาย’ ต่างก็มีผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ‘ผู้ที่ออกกำลังกาย’ มีศักยภาพทางการตลาดมากที่สุดสำหรับการควบคุมน้ำหนักด้วยอาหารเสริม VMS ในขณะที่ ‘ผู้ที่อยากออกกำลังกาย’ มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากกว่า” Phagudom กล่าวเสริม
เครื่องดื่มร้อนกำลังมาแรง
เครื่องดื่มร้อน เช่น ชา ครองส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักทั่วโลก โดยคิดเป็น 12% ของผลิตภัณฑ์ใหม่ระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 ถึงกรกฎาคม 2567 ตามฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ทั่วโลกของ Mintel เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่เครื่องดื่มประเภทอื่นๆ จะสามารถคิดค้นสูตรใหม่ๆ ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มและเผาผลาญไขมันได้
รายงานระบุว่าส่วนผสมต่างๆ เช่น สตีเวีย โปรตีนถั่ว และโครเมียมกำลังได้รับความสนใจทั่วโลก และสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคชาวไทยในด้านผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและอิ่มท้องมากขึ้น
“เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหารเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสำรวจสำหรับแบรนด์ต่างๆ เนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการและความสะดวกสบายของเครื่องดื่มประเภทนี้สามารถดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายระดับเริ่มต้น และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งการทดลองใช้รสชาติแปลกใหม่ เช่น ผลไม้เมืองร้อนอาจช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดใจให้กับหมวดหมู่นี้ได้มากขึ้นอีกด้วย” Phagudom กล่าวเสริม
นำเสนอโภชนาการแบบองค์รวม
ผู้บริโภคชาวไทยมีความชื่นชอบที่แตกต่างกันในอาหารควบคุมน้ำหนัก โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเลือกอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ โปรตีนสูง สารอาหารจากพืช หรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด แม้ว่าคำกล่าวอ้างเรื่อง “การลดน้ำหนัก” จะครองตลาดผลิตภัณฑ์โภชนาการควบคุมน้ำหนัก (87%) ในประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2567 แต่ผู้บริโภคก็ไม่ได้ถือว่าการควบคุมน้ำหนักอย่างมีประสิทธิผลหมายถึงความจะช่วยให้ผอมเพรียวได้เสมอไป ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงนั้น มีความสำคัญมากกว่ามาก
“แบรนด์ต่างๆ สามารถให้ความสำคัญไปที่สูตรที่ช่วยย่อยอาหาร หรือความอิ่ม (หรือ ‘รู้สึกอิ่ม’) เพื่อส่งเสริมให้การควบคุมผู้คนทางอาหารเป็นไปได้ง่ายขึ้นอย่างมีสติได้” Phagudom กล่าว พร้อมกับเสริมว่าชาวไทย 43% เชื่อว่าการรับประทานอาหารที่ทำให้อิ่มนั้นเป็นวิธีการควบคุมน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพ
Source : รายงานโดย Mintel: ชาวไทยถึง 74% มุ่งที่จะปรับปรุงน้ำหนักของตนเองท่ามกลางอัตราโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.