• รายงานผลกระทบด้าน ESG ฉบับที่ 3 ของลาซาด้า เผยความสำเร็จสำคัญขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลง 40% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ในประเทศไทย ลาซาด้าได้เปิดตัวศูนย์โลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของบริษัท โดยศูนย์แห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมด
  • อีโคซิสเต็มของลาซาด้าได้ขยายโอกาสในการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มทั่วภูมิภาคถึง 160 ล้านคน

กรุงเทพฯ, 27 สิงหาคม 2567 /PRNewswire/ — ลาซาด้า ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่อ ขับเคลื่อนนวัตกรรม ผลักดันสู่ความยั่งยืน (Accelerating Innovation, Anchoring Resilience) ตอกย้ำความมุ่งมั่นลาซาด้าในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและยั่งยืนผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยรายงานฉบับนี้ได้เผยถึงผลการดำเนินงานและความสำเร็จของกลุ่มบริษัทฯ ภายใต้กรอบการทำงานด้าน ESG ที่ประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ 

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของรายงานประจำปีนี้คือการเริ่มต้นใช้เครื่องมือบันทึกข้อมูลคาร์บอนภายในองค์กร เพื่อติดตามและประเมินการปล่อยคาร์บอนของกลุ่มบริษัทฯ โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณการปล่อยคาร์บอนที่พิจารณาแต่ละกิจกรรม (Activity-based Methodology) และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้การประเมินข้อมูลมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แนวทางดังกล่าวส่งผลให้การรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน (Scope 2) มีคุณภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าปีที่ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ลาซาด้า ยังได้ดำเนินมาตรการลดการใช้พลังงานในหลากหลายส่วนของธุรกิจ ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลดลง 40% เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 ได้ลดลง 54% Scope 2 ได้ลดลง 8% และ Scope 3 (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ) ได้ลดลง 30%

เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “รายงานผลกระทบด้าน ESG ฉบับที่ 3 ของเรา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และภาคส่วนต่าง ๆ ในอีโคซิสเต็มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งรวมถึงพนักงาน ผู้ซื้อ ผู้ขาย และสังคม เราเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมการเติบโตในระยะยาว ผ่านการปรับตัวอย่างต่อเนื่องและสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง เป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตของลาซาด้า โดยเรายังคงให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้กับทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็ม พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วภูมิภาคต่อไป”

รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 ของลาซาด้า ได้นำเสนอภาพรวมความสำเร็จและความคืบหน้าของการดำเนินงานด้าน ESG ที่โดดเด่นของบริษัทฯ ภายในกรอบเวลาการรายงานที่ผ่านมา โดยมีไฮไลต์ที่สำคัญ ดังนี้

  • การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
    • ขับเคลื่อนนวัตกรรมในอีโคซิสเต็ม: ลาซาด้าใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ในประสบการณ์ค้าปลีกออนไลน์ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
      • ลาซาด้า ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการยกระดับประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักช้อป เช่น ฟีเจอร์ “Ask The Buyers” หรือ “ถามผู้ใช้งานจริง” ที่ช่วยตั้งคำถามให้ผู้ที่ซื้อสินค้าไปก่อนหน้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายอื่น ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังได้เปิดตัว Lazzie Chat แชทบอตตัวแรกของลาซาด้า ที่ขับเคลื่อนด้วย OpenAI ChatGPT โดยเปิดให้บริการในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
      • โครงการชำระเงินด้วย QR Code ของลาซาด้าช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินแบบไร้รอยต่อ ทั้งในสิงคโปร์และไทย เพิ่มทางเลือกการชำระเงินออนไลน์สำหรับผู้บริโภคที่ไม่มีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ทำให้การช้อปปิงออนไลน์เข้าถึงง่ายขึ้นและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
    • สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น: ลาซาด้า ได้เปิดตัวโครงการ Lazada Sustainability Academy ในเดือนตุลาคม 2566 โดยโครงการดังกล่าวมุ่งส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการให้ความรู้และแนวคิดที่จำเป็นต่อการปรับตัวธุรกิจให้ทันสมัยและเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
  • การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต
    • ขับเคลื่อนอนาคตการค้าดิจิทัลผ่านการขยายโอกาสและการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างทั่วถึง: ลาซาด้า ประเทศอินโดนีเซีย ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการประจำจังหวัดชวาตะวันตก ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะการทำงานด้านดิจิทัล ประเทศอินโดนีเซีย (Acceleration of Indonesian Digital’s Work Movement) เพื่อจัดทำการฝึกอบรมโครงการ “Naik KeLaz” สำหรับครูอาชีวศึกษา 100 คน
    • ปลูกฝังความเข้าใจด้านความยั่งยืนแก่พนักงาน: ลาซาด้า ได้เปิดตัวคอร์สฝึกอบรมด้าน ESG ภายในบริษัทเป็นครั้งแรก เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ ESG และช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันได้
  • การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม:
    • ลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์: ลาซาด้า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลงถึง 40% เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อน โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณคาร์บอนที่แม่นยำยิ่งขึ้น
    • โครงการด้านโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน: ในเดือนกันยายน 2566 ลาซาด้า ประเทศไทย ได้นำร่องโลจิสติกส์ฮับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรก ณ ท่าแร้ง รามอินทรา โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในการขนส่งสินค้า และการใช้ชุดยูนิฟอร์มสำหรับตัวแทนจัดส่งสินค้าที่ผลิตจากขวดพลาสติก PET รีไซเคิล โดยศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 20% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
  • การกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ:
    • มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น: 100% ของพนักงาน ลาซาด้า ได้ผ่านการฝึกอบรมจรรยาบรรณทางธุรกิจและนโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต ในช่วงกรอบเวลาการรายงาน
    • แนวปฏิบัติและกระบวนการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (IPR): กว่า 97% ของการยื่นขอถอดรายการสินค้าโดยเจ้าของสิทธิที่มีการแจ้งผ่านแพลตฟอร์มการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของลาซาด้า สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 72 ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินมาตรการเชิงรุก แพลตฟอร์มยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง AI และฟีเจอร์ Image Recognition ในการระบุสินค้าที่แจ้งถอดถอนได้ถึง 85.7% ส่งผลให้การถอดรายการสินค้าถึง 90% ของ 140 แบรนด์ เกิดขึ้นก่อนมีการทำธุรกรรมใด ๆ

กลาดิส ชุน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “การดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังในหลากหลายด้าน ลาซาด้า จึงให้ความสำคัญกับการติดตามและรายงานความคืบหน้าด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ อย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ เราภูมิใจในความสำเร็จที่ผ่านมาและจะเดินหน้าสร้างประโยชน์ให้แก่อีโคซิสเต็ม
อีคอมเมิร์ซ สังคมโดยรวม และสิ่งแวดล้อมต่อไป”

รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 ของลาซาด้า จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการจัดทำรายงานของ Global Reporting Initiative (GRI) ปี 2566[1]

อ่านรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 “ขับเคลื่อนนวัตกรรม ผลักดันสู่ความยั่งยืน” ฉบับเต็มได้ที่นี่

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน

  • รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 ของลาซาด้า รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางและผลงานด้าน ESG จากการดำเนินธุรกิจของ ลาซาด้า กรุ๊ป ใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และการดำเนินงานของบริษัทในเครือ RedMart ในสิงคโปร์ ภายในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567 (“ปีงบประมาณ 2567”) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น
  • รายงานฉบับนี้รวบรวมข้อมูลจากกรอบการรายงานก่อนหน้านี้คือ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 (“ปีงบประมาณ 2566”) เพื่อเปรียบเทียบในกรณีที่เกี่ยวข้อง
  • ลาซาด้า ได้ใช้มาตรฐานการจัดทำรายงานของ GRI ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกที่ภาคธุรกิจใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในการรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนตามเกณฑ์ที่สามารถเปรียบเทียบได้ เนื้อหาโดยละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐาน GRI อยู่ในส่วนท้ายของรายงาน (หน้า 24)

เกี่ยวกับ ลาซาด้า กรุ๊ป  
ลาซาด้า กรุ๊ป เป็นผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ลาซาด้าได้ขับเคลื่อนความก้าวหน้าในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ผ่านธุรกิจการค้าและเทคโนโลยี ปัจจุบันธุรกิจที่กำลังเติบโตนี้ได้เชื่อมโยงผู้ใช้งานเป็นประจำราว 160 ล้านราย เข้ากับผู้ขายที่ดำเนินธุรกิจอยู่มากกว่า 1 ล้านรายต่อเดือน ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย ด้วยช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ รวมถึงลาซาด้าวอลเล็ต อีกทั้งยังรับบริการจัดส่งพัสดุจากเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศที่กลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้      

[1] ดูรายละเอียดได้ที่ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน

Source : ลาซาด้า กรุ๊ป เผยรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2567

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.