ปี้เจี๋ย, จีน–16 พ.ย. 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานข่าวโดยกุ้ยโจว เดลี (Guizhou Daily)
“ที่ดินผืนนี้ถูกใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับระบบฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นดิน เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้น เราจะคืนที่ดินให้กับชาวบ้าน”
หวาง หมิงลี่ (Huang Mingli) นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาปี้เจี๋ย (Bijie Vocational and Technical College) ได้แนะนำระบบฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นดินให้กับผู้สื่อข่าว ซึ่งช่างยากที่จะคาดคิดว่าเธอคือนิติบุคคลของบริษัทแห่งหนึ่ง ทั้งที่เธออายุเพียง 22 ปีเท่านั้น
อันที่จริง ในอดีตเธอก็ไม่ต่างจากเพื่อนกลุ่มเดียวกัน แต่เธอได้เริ่มเปลี่ยนไปในวันที่เดินทางมาถึงสถานที่ที่เรียกว่า “ลานดิจิทัล”
ในปี 2562 คณะกรรมการกลางของพรรคจื้อกงจีนได้เลือกชุมชนชางเหยียนประจำเมืองจูชางของเขตฉีซิงกวนในเมืองปี้เจี๋ย เป็นชุมชนนำร่องในการฟื้นฟูชนบท และแต่งตั้ง ผาน จือหยวน (Pan Zhiyuan) สมาชิกพรรคจื้อกงจีน เป็นเลขาธิการคนแรกของชุมชนเพื่อสร้างฐานเพาะพันธุ์ระบบนิเวศอัจฉริยะ ซึ่งบังเอิญว่า เฉิน เต๋อฮุ่ย (Chen Dehui) สมาชิกคณะกรรมการกลางการเกษตรและกิจการชนบทของพรรคจื้อกงจีนมีประสบการณ์ในสาขานั้นอยู่บ้าง เฉิน เต๋อฮุย และทีมของเขาจึงมาที่ปี้เจี๋ยตามคำเชิญของ ผาน จือหยวน เพื่อเริ่มโครงการ อูเหมิง เรด แบล็ก ฟีนิกซ์ (WuMeng Red Black Phenix) ซึ่งต้องใช้พลังสมองในวงกว้าง
“มีประชากรที่มีชื่อในทะเบียนบ้านมากกว่า 9 ล้านคน โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 32 ปี ต่ำกว่าอายุเฉลี่ยของประชากรในเซินเจิ้น” หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรบุคคลของปี้เจี๋ย ก็มีแนวคิดหนึ่งผุดขึ้นมาในใจของเฉิน เต๋อฮุ่ย
ในปี 2565 ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินและทางปัญญาจากคณะกรรมการกลางของพรรคจื้อกงจีนและเขตเทียนเหอของเมืองกว่างโจว เขาและทีมงานได้ก่อตั้ง “ลานดิจิทัล” ขึ้นที่หมู่บ้านหลัวซือประจำเมืองจูชางของเขตฉีซิงกวนในเมืองปี้เจี๋ย และเริ่มร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาปี้เจี๋ย
การเรียนรู้ที่ “ลานดิจิทัล” ถือเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้อาวุโสของวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาปี้เจี๋ย “ตอนที่ฉันเรียนมหาวิทยาลัย ฉันไม่เคยคิดเลยว่าวันหนึ่งจะกลายเป็น “ชาวนา” แต่ต่อมา ฉันพบว่ามันมีความหมายมาก” หวัง หยาง (Wang Yang) นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาปี้เจี๋ย กล่าว
ในขณะที่ความร่วมมือดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น เฉิน เต๋อฮุ่ย ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า เด็กฝึกงานแห่งเมตาเวิร์ส (Apprentice of Metaverse) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษานวัตกรรมดิจิทัล การฝึกอบรมการบริการสังคม ความช่วยเหลือดิจิทัล และการมีส่วนร่วมในความฉลาดทางดิจิทัล
เฉิน เต๋อฮุ่ย กล่าวว่า พวกเขายึดมั่นในแนวคิดเรื่องการลงทุนด้านความรู้ก่อนการลงทุน ปัจจุบันมีบริษัทในเครือ 6 แห่งที่ก่อตั้งโดย บริษัท ปี้เจี๋ย เหิงชวี่ อินฟอร์เมชัน เทคโนโลยี จำกัด (BiJie HengQu Information Technology Co., Ltd) โดยมีนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาปี้เจี๋ยเป็นนิติบุคคลและผู้ถือหุ้น และดำเนินโครงการที่ตนเองเป็นเจ้าของ 4 โครงการและโครงการภายนอก 6 โครงการ เพียงรับคำสั่งซื้อที่มีราคาต่อหน่วยตั้งแต่ 30,000-50,000 หยวน และรายได้ต่อปีของส่วนการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็มากกว่าหนึ่งล้านหยวน
ปัจจุบัน “ลานดิจิทัล” ซึ่งมีโครงการเด็กฝึกงานแห่งเมตาเวิร์สเป็นแกนหลัก ทำงานราวกับน้ำพุที่มีน้ำไหลเวียนอยู่เสมอ โดยส่งมอบผู้มีความสามารถและบริการเชิงเทคนิคไปยังพื้นที่ชนบทของปี้เจี๋ยและทางตะวันออกของจีนอย่างต่อเนื่อง
“เยาวชนของปี้เจี๋ยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเติบโต ผมคิดว่าพวกเขาเป็นผู้มีส่วนสำคัญ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นผู้นำในกระบวนการพัฒนาและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุมของสังคม” เฉิน เต๋อฮุ่ย จำได้ว่าเด็ก ๆ เคยรู้สึกกังวลและขาดความมั่นใจเมื่อมาที่ “ลานดิจิทัล” เป็นครั้งแรก แต่ตอนนี้เขารู้สึกแตกต่างไปจากเดิม
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความรู้สึกของเขาเกี่ยวกับ 4 ปีที่ผ่านมาในปี้เจี๋ย เขาตอบเพียง 5 คำง่าย ๆ ว่า “A land full of hope” หรือ “ดินแดนที่เต็มไปด้วยความหวัง”
Source : สร้างดินแดนแห่งความหวังด้วยแนวทางดิจิทัล
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.