สิงคโปร์, 24 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — สำนักงานควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ (NQO) สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NSCC) และ Quantinuum ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในวันนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ขั้นสูงของ Quantinuum ได้ และสำรวจและประสานงานเกี่ยวกับกรณีการใช้งานควอนตัมคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเน้นที่ชีววิทยาเชิงคำนวณได้
[From left to right, seated] The MoU signing was represented by Dr Su Yi, Executive Director, A*STAR’s Institute of High Performance Computing; Mr Ling Keok Tong, Executive Director, National Quantum Office; Prof José Ignacio Latorre, Director, Centre for Quantum Technologies; Dr Rajeeb Hazra, President & CEO, Quantinuum, Dr Sebastian Maurer-Stroh, Executive Director, A*STAR’s Bioinformatics Institute; Prof Thomas M. Coffman, Dean, Duke-NUS Medical School; Dr Terence Hung, Chief Executive, National Supercomputing Centre Singapore.
ภายใต้ MoU ดังกล่าว ทุกฝ่ายต่างตกลงใช้ประโยชน์จากควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series และ Helios ของ Quantinuum เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการร่วมวิจัยและพัฒนา (R&D) ในการนำการประมวลผลควอนตัมไปใช้งานในแบบต่าง ๆ โดย Helios คือหน่วยประมวลผลควอนตัมยุคถัดไปของ Quantinuum ที่สามารถเพิ่มพลังการประมวลผลควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้อย่างทวีคูณ
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาโซลูชันการประมวลผลแบบไฮบริดซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานการคำนวณแบบคลาสสิกและควอนตัม นำไปสู่การสร้างแผนงานเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว โดย MoU ดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการฝึกอบรมและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านการสัมมนา เวิร์คช็อป และโครงการตามความต้องการ เพื่อบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านควอนตัม และมีส่วนสนับสนุนชุมชนควอนตัมที่กำลังเติบโตของสิงคโปร์
สิงคโปร์มีพื้นฐานแข็งแกร่งด้านชีววิทยาเชิงคำนวณและการรวบรวมชุดข้อมูลด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ โดย MoU ฉบับนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชีวสารสนเทศศาสตร์ของ A*STAR (BII ของ A*STAR) ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ที่ NUS และศูนย์ชีววิทยาเชิงคำนวณของโรงเรียนแพทย์ Duke-NUS สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องของ Quantinuum เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแบบจำลอง ระบบทางชีววิทยาที่ซับซ้อน การค้นคว้ายาที่ล้ำหน้า และการแพทย์เฉพาะบุคคล นอกจากนี้ Quantinuum ยังวางแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์โดยเฉพาะ เพื่อให้นักวิจัยจากทั้ง Quantinuum และสิงคโปร์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญได้ดีขึ้นเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมด้านการนำควอนตัมไปใช้และอัลกอริธึม
ในฐานะบริษัทควอนตัมคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดที่ประสบความสำเร็จในการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสุด Quantinuum นำเสนอแพลตฟอร์มควอนตัมคอมพิวเตอร์บูรณาการครบวงจร โดย Quantinuum ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดักจับไอออน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีความเที่ยงตรงสูงสุดและปรับขนาดได้ เพื่อพัฒนากรณีการใช้งานในการนำไปใช้ที่หลากหลาย รวมถึงด้านเภสัชภัณฑ์ วัสดุศาสตร์ และการเงิน
MoU ฉบับนี้อยู่ภายใต้แนวทางยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ ซึ่งมีเป้าหมายเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางชั้นนำในการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีควอนตัมไปใช้ โดยส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ในสาขาการวิจัยควอนตัมที่มีผลกระทบสูง เสริมสร้างความสามารถด้านวิศวกรรมของสิงคโปร์ด้านเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเร่งการเปลี่ยนไปสู่โซลูชันในชีวิตจริง กล่าวคือ การดึงดูด การพัฒนา และการรักษาผู้มีความสามารถด้านควอนตัม และรักษาพันธมิตรต่าง ๆ ของบริษัทเพื่อสร้างอุตสาหกรรมควอนตัมที่น่าตื่นเต้นและยืดหยุ่น
NQO ดูแลการพัฒนาและการดำเนินยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ผู้มีความสามารถ และการพัฒนาระบบนิเวศด้านควอนตัมของสิงคโปร์ผ่านโครงการควอนตัมระดับชาติ โดย National Quantum Computing Hub (NQCH) ซึ่งเป็นโครงการควอนตัมระดับชาติและการดำเนินงานร่วมกันของ CQT, สถาบันคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ของ A*STAR (IHPC ของ A*STAR) และศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์จะขับเคลื่อนความร่วมมือนี้กับ Quantinuum
“นี่คือความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Quantinuum หลังจากการเปิดตัวยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติ (National Quantum Strategy) ของสิงคโปร์เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา NQO ได้รวบรวมผู้ดำเนินการวิจัยหลักผ่าน NQCH เพื่อร่วมมือกับ Quantinuum ในการผลักดันการวิจัยและพัฒนาการประมวลผลควอนตัม ซึ่งจะช่วยให้สิงคโปร์ได้เปรียบในกรณีการใช้งานควอนตัมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดย MoU ฉบับนี้ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน จะทำให้สิงคโปร์สามารถเข้าถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series และ Helios สุดล้ำสมัยของ Quantinuum ได้ NQO จะยังคงส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันผ่านโครงการควอนตัมระดับชาติ และเราหวังจะส่งมอบผลลัพธ์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศการวิจัย นวัตกรรม และธุรกิจ (RIE) ร่วมกัน” Ling Keok Tong กรรมการบริหารของ NQO กล่าว
“ความร่วมมือของเราตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ระดับโลก ด้วยการใช้ประโยชน์จากควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series ที่ล้ำสมัยและชุดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันควอนตัมชั้นนำ เรามุ่งหมายเริ่มสำรวจกรณีการใช้งานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านชีววิทยาเชิงคำนวณและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ การก่อตั้งศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์เป็นการยกระดับความทุ่มเทของเราในการส่งเสริมระบบนิเวศควอนตัมที่คึกคัก ผลักดันความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ และบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านควอนตัมระดับแนวหน้า เราหมายมั่นที่จะสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยีควอนตัม โดยสนับสนุนเป้าหมายของสิงคโปร์ในการเป็นผู้นำด้านภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว” ดร. Rajeeb (Raj) Hazra ซีอีโอของ Quantinuum กล่าว
ภาคผนวก ก – คำกล่าวเพิ่มเติมจากผู้ลงนามใน MoU
เกี่ยวกับสำนักงานควอนตัมแห่งชาติ
สำนักงานควอนตัมแห่งชาติ (NQO) ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการวิจัยแห่งชาติ (NRF) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการดำเนินกลยุทธ์การวิจัย นวัตกรรม และธุรกิจ (RIE) ด้านควอนตัมในสิงคโปร์ สำนักงานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2565 และบริหารจัดการโดย A*STAR ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการด้านควอนตัม โดย NQO ในฐานะหอบังคับการ สนับสนุนการวิจัยพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านควอนตัมผ่านโครงการเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ NQO รับผิดชอบดูแล โดยร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างระบบนิเวศควอนตัม RIE ที่มีชีวิตชีวาในสิงคโปร์ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://nqo.sg
เกี่ยวกับสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR)
สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาภาครัฐชั้นนำของสิงคโปร์ เราร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านนวัตกรรมแบบเปิดเพื่อสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี A*STAR เชื่อมช่องว่างระหว่างแวดวงวิชาการและอุตสาหกรรม งานวิจัยของเราสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับสิงคโปร์ และยกระดับชีวิตด้วยการปรับปรุงผลลัพธ์ทางสังคมในด้านการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตในเมือง และความยั่งยืน โดย A*STAR มีบทบาทสำคัญในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และผู้นำสำหรับชุมชนการวิจัยและอุตสาหกรรมในวงกว้าง กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของ A*STAR ครอบคลุมวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ไปจนถึงวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีหน่วยงานวิจัยที่ตั้งอยู่ใน Biopolis และ Fusionopolis เป็นหลัก รับข่าวสารต่อเนื่องได้ที่ www.a-star.edu.sg
ช่องทางติดตาม
เฟซบุ๊ก | ลิงค์อิน | อินสตาแกรม | ยูทูบ | ติ๊กต็อก
เกี่ยวกับ Quantinuum
Quantinuum บริษัทควอนตัมคอมพิวเตอร์บูรณาการครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้บุกเบิกควอนตัมคอมพิวเตอร์อันทรงพลังและโซลูชันซอฟต์แวร์ขั้นสูง โดยเทคโนโลยีของ Quantinuum ขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการค้นพบข้อมูล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และควอนตัม AI (ปัญญาประดิษฐ์) เจเนอเรชันใหม่ Quantinuum เป็นผู้นำการปฏิวัติการประมวลผลควอนตัมทั่วนานาทวีปด้วยพนักงานมากกว่า 500 คน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมากกว่า 370 คน
เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์ Duke-NUS
Duke-NUS เป็นโรงเรียนแพทย์ระดับบัณฑิตศึกษาชั้นนำของสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 โดยมีความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่นำโดยรัฐบาลระหว่างสถาบันระดับโลกสองแห่ง ได้แก่ Duke University School of Medicine และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ด้วยหลักสูตรที่สร้างสรรค์ นักศึกษาของ Duke-NUS ได้รับการบ่มเพาะให้เป็น ‘Clinicians Plus’ ที่มีความสามารถหลากหลาย พร้อมที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพและชีวการแพทย์ในสิงคโปร์และที่อื่น ๆ โดย Duke-NUS เป็นผู้นำด้านการวิจัยที่ก้าวล้ำและนวัตกรรมการนำไปประยุกต์ใช้ โดยได้รับชื่อเสียงระดับนานาชาติผ่านโครงการวิจัยอันเป็นเอกลักษณ์ห้าโครงการและศูนย์ 10 แห่ง ผลกระทบที่ยั่งยืนของการค้นพบต่าง ๆ ของโรงเรียนนี้ได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรด้านการแพทย์เชิงวิชาการกับ Singapore Health Services (SingHealth) ซึ่งเป็นกลุ่มการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ได้นำไปสู่การตั้งโครงการทางคลินิกเชิงวิชาการ 15 โครงการ ซึ่งใช้ประโยชน์จากการวิจัยและการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพเพื่อเปลี่ยนแปลงการแพทย์และปรับปรุงการใช้ชีวิต
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.duke-nus.edu.sg
เกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม
ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) เป็นศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติที่สำคัญของสิงคโปร์ ศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนภายใต้ยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ และมีโหนดอยู่ตามสถาบันพันธมิตรและประสานงานกับผู้มีความสามารถด้านการวิจัยทั่วประเทศ
สถาบันพันธมิตรของ CQT คือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ และสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย
CQT รวบรวมนักฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิศวกรเพื่อทำการวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับควอนตัมฟิสิกส์ และสร้างอุปกรณ์ตามปรากฏการณ์ควอนตัม ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใหม่ด้านเทคโนโลยีควอนตัมกำลังประยุกต์การค้นพบของตนในการประมวลผล การสื่อสาร และการตรวจจับ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.quantumlah.org
เกี่ยวกับศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NSCC) สิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 โดยบริหารจัดการอาคาร Petascale แห่งชาติแห่งแรกของสิงคโปร์โดยจัดหาทรัพยากรการประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยแห่งชาติ NSCC สนับสนุนการวิจัยของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงบริษัทพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ NSCC เร่งให้เกิดการวิจัยและพัฒนาระดับชาติ ดึงดูดความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของสิงคโปร์ผ่านการสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (SUTD) สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NEA) และศูนย์เทคโนโลยีนอกชายฝั่งและทางทะเล สิงคโปร์ (TCOMS) และได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิการวิจัยแห่งชาติ (NRF) ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://nscc.sg
ภาคผนวก – คำกล่าวเพิ่มเติมจากผู้ลงนามใน MoU
“BII ของ A*STAR รู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำความเชี่ยวชาญแนวทางชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศศาสตร์มาใช้เร่งการพัฒนาควอนตัมอัลกอริธึมไฮบริดแบบคลาสสิก ควอนตัมอัลกอริธึม และการประยุกต์ใช้งานผ่าน MoU ฉบับนี้ นอกจากนี้ MoU ฉบับดังกล่าวยังเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อยกระดับความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัม ทำให้เราอยู่ในระดับแนวหน้าของนวัตกรรมในสาขาที่สำคัญเหล่านี้” ดร. Sebastian Maurer-Stroh กรรมการบริหารสถาบันชีวสารสนเทศศาสตร์ของ A*STAR กล่าว
“ขณะนี้การค้นพบทางชีววิทยาที่มีแนวโน้มดีหลายอย่างต้องหยุดชะงักลงเมื่อต้องค้นหาตัวยาที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเท่านั้น แต่ผู้ป่วยยังสามารถทนต่อยาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย กระบวนการค้นหาโมเลกุลที่เหมาะสมนั้นช้าและมักถูกจำกัดด้านจำนวนตัวแปรที่สามารถนำมาพิจารณาได้ในโมเดลเดียว การเพิ่มขีดความสามารถในปัจจุบันของเราด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถปลดข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ดีขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น” รองศาสตราจารย์ Enrico Petretto ผู้อำนวยการศูนย์ชีววิทยาเชิงคำนวณของ Duke-NUS กล่าว และเสริมว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้ควอนตัมในด้านชีววิทยา จะเป็นประโยชน์ต่อนักชีววิทยาเชิงคำนวณฝึกหัดที่ต้องการเข้าใจวิธีการผนวกควอนตัมคอมพิวเตอร์เข้ากับงานค้นคว้ายาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น”
“IHPC ของ A*STAR ได้ใช้ประโยชน์จากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เพื่อเร่งการคำนวณที่ซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพงานที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก ด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ เรากำลังบูรณาการองค์ประกอบหน่วยประมวลผลควอนตัม (QPU) เพื่อผลักดันขอบเขตการคำนวณและขับเคลื่อนนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ ความร่วมมือของเรากับ Quantinuum ถือเป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงการนำไปงานต่าง ๆ เช่น การค้นคว้ายา ซึ่งอาจช่วยเร่งการพัฒนายาชนิดใหม่และมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการดูแลสุขภาพและลดต้นทุนการวิจัย” ดร. Su Yi กรรมการบริหารสถาบันคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของ A*STAR กล่าว
“ผมตื่นเต้นที่ได้เริ่มความร่วมมือครั้งใหม่ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของเราในสิงคโปร์และบริษัทข้ามชาติอย่าง Quantinuum เรานำความรู้ความชำนาญด้านควอนตัมอัลกอริธึมและชีววิทยาเชิงคำนวณมาทำงานร่วมกับทีมงาน Quantinuum ที่กำลังสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสุดบางรุ่นที่มีในโลกปัจจุบัน” ศาสตราจารย์ José Ignacio Latorre ผู้อำนวยการ CQT และหัวหน้าผู้ตรวจสอบหลักของ National Quantum Computing Hub กล่าว
“ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแนวโน้มทั่วโลกในการพยายามเร่งบูรณาการและจัดวางซูเปอร์คอมพิวเตอร์และควอนตัมคอมพิวเตอร์ สะท้อนความสัมพันธ์พึ่งพากันอันแข็งแกร่งระหว่างระบบคลาสสิกและระบบควอนตัม การจับมือกันระหว่างสิงคโปร์กับ Quantinuum จะเป็นก้าวสำคัญในการช่วยให้ NSCC เรียนรู้ วางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลแบบไฮบริดในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิจัย” Terence Hung ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว
“ความร่วมมือกับ Quantinuum จะช่วยส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลของสิงคโปร์ เนื่องจากนักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ จะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาและทดลองเทคนิคควอนตัมขั้นสูงได้ การลงทุนของ Quantinuum ในสิงคโปร์จะช่วยเพิ่มพูนขีดความสามารถของเราด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้องทั่วโลกของด้านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาเชิงคำนวณ” Philbert Gomez รองประธานและหัวหน้า อุตสาหกรรมดิจิทัลสิงคโปร์ กล่าว
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2467879/Quantinuum_Singapore_MoUSigning.jpg
Source : สิงคโปร์ลงนาม MoU กับ QUANTINUUM เล็งเข้าถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.