ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 17 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ — ที่งาน GITEX GLOBAL ปี 2567 หัวเว่ย (Huawei) ได้นำเสนอบทความสำคัญที่มีชื่อว่า “The Digital Dividend – ICT Maturity Fuels Economic Growth.” (ผลประโยชน์จากดิจิทัล – ความก้าวหน้าของ ICT ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ) ดังนี้

ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล 

โลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลของเราเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, 5G-A และคลาวด์คอมพิวติ้ง การผสมผสานนี้ หรือที่เรียกกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 กำลังเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างรวดเร็ว และเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในความเป็นจริง ในตลอดช่วงเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะจะมีสัดส่วนถึง 70% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกทั้งหมด[1] นับตั้งแต่เมืองอัจฉริยะที่ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไปจนถึงการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วย AI ผลกระทบเหล่านี้ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงานของสังคมแล้ว ปัจจุบัน มีมากกว่า 170 ประเทศที่ได้พัฒนากลยุทธ์ระดับชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI

การเชื่อมโยงระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแนวทางที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน ตั้งแต่เครื่องจักรไอน้ำจนถึงสายพานการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งได้กำหนดทิศทางใหม่ให้กับเศรษฐกิจของเรา อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติทางดิจิทัลในปัจจุบันกำลังสร้างผลกระทบที่ใหญ่กว่ามากเนื่องจากความรวดเร็วของนวัตกรรมและผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ กำลังใช้เพื่อเปลี่ยนโฉมการดำเนินงานของตน

ดัชนีดิจิทัลโลก (Global Digitalization Index หรือ GDI ที่พัฒนาโดยความร่วมมือกับ IDC ได้วัดความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในแต่ละประเทศ โดยเน้นให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความพร้อมด้าน ICT กับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น นอกจากนี้ การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสามารถเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างสูง และยังแสดงวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ในแต่ละระดับความพร้อมด้านดิจิทัลจะสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อผลักดันเศรษฐกิจของตนให้ก้าวหน้าได้

GDI website: https://www.huawei.com/en/gdi
GDI website: https://www.huawei.com/en/gdi

ภูมิทัศน์ของความพร้อมทางดิจิทัล

รายงาน GDI ปี 2567 ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากดัชนีการเชื่อมต่อระดับโลก (Global Connectivity Index) ครั้งก่อนหน้า ถูกสร้างขึ้นจากการวิจัยร่วมกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุม 77 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 93% ของ GDP ทั่วโลกและ 80% ของประชากรโลก รายงานนี้แบ่งประเทศออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นำ (Frontrunners) ผู้นำมาใช้งาน (Adopters) และผู้เริ่มต้น (Starters) โดยแต่ละกลุ่มสะท้อนถึงระดับความพร้อมทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน ประเทศที่เป็นผู้นำ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และสิงคโปร์ เป็นผู้นำทั้งในด้านการเชื่อมต่อที่แพร่หลายและพื้นฐานทางดิจิทัล ในขณะที่ประเทศกลุ่มผู้นำมาใช้งาน เช่น สเปนและมาเลเซีย กำลังขยายขีดความสามารถทางดิจิทัลของตนอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศผู้เริ่มต้นอย่างเวียดนาม ก็กำลังสร้างรากฐานให้แก่อนาคตทางดิจิทัลของตน

ช่องว่างในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขยายกว้างขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ในระหว่างปี 2562ถึง 2566 อัตราส่วนของการเติบโตของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในกลุ่มประเทศผู้นำ ผู้นำมาใช้งาน และผู้เริ่มต้นอยู่ที่ 18:3:1 โดยมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีที่ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ, 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ความแตกต่างนี้ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลข แต่เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงทิศทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันซึ่งประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทุกการลงทุน 1 ดอลลาร์ในด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสามารถให้ผลตอบแทนถึง 8.3 ดอลลาร์ต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศนั้น ๆ

เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัล

หัวใจสำคัญของผลการวิจัยในรายงานนี้ คือการค้นพบที่ทรงพลังว่า สำหรับประเทศผู้นำ การเพิ่มขึ้นของคะแนน GDI ทุก ๆ หนึ่งคะแนนจะทำให้ GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้น 945 เหรียญสหรัฐ ผลกระทบทางเศรษฐกิจนี้สูงกว่าประเทศผู้นำมาใช้งาน 2.1 เท่า และสูงกว่า 5.4 เท่าสำหรับประเทศผู้เริ่มต้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลที่เกิดขึ้น

แต่อะไรที่ทำให้ผลนี้เกิดขึ้น คำตอบอยู่ในกลไกของระบบนิเวศในเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความก้าวหน้า ในประเทศผู้นำ เราจะเห็นระบบนิเวศดิจิทัลขั้นสูง ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AI, IoT และคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น

ระบบนิเวศเหล่านี้สร้างผลกระทบของเครือข่าย ที่มูลค่าของบริการดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อมีผู้ใช้หรือการเชื่อมต่อใหม่ ๆ แต่ละราย นอกจากนี้ การสะสมและการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดยังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในอัตราที่ประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลน้อยกว่าจะไม่สามารถตามทันได้

ให้พิจารณาท่าเรือเทียนจินของจีน ที่การผสานระหว่างเครือข่าย 5G, คลาวด์, AI และพลังงานสีเขียวอย่างเป็นบูรณาการส่งผลให้เกิดท่าเรืออัจฉริยะที่ปลอดคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนี้ทำให้สามารถลดเวลาการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ลงได้ 50% และลดการใช้พลังงานลง 17% เมื่อเทียบกับท่าเรือแบบดั้งเดิม นี่เป็นเพียงภาพย่อส่วนเพื่อแสดงให้เห็นวิธีที่ความพร้อมทางดิจิทัลสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนได้

ลักษณะแบบทวีคูณของการลงทุนดิจิทัล 

สิ่งที่ทำให้เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลมีพลังอย่างยิ่งคือลักษณะแบบทวีคูณ เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้มีอยู่แยกจากกันอย่างโดดเดี่ยว แต่จะเสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพให้กันและกัน ตัวอย่างเช่น การเปิดตัวเครือข่าย 5G ไม่ได้เพียงแค่ปรับปรุงการเชื่อมต่อให้ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้เกิดการประมวลผลแบบ Edge แอปพลิเคชัน AI แบบเรียลไทม์ และการใช้เทคโนโลยี IoT ในระดับใหญ่ ผลกระทบแบบทบต้นนี้สร้างวงจรที่ดีของนวัตกรรมและการเติบโต

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดการพัฒนาขึ้น ก็จะสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล ในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตทางดิจิทัล ข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นปัจจัยการผลิตใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนระบบ AI ซึ่งเร่งให้เกิดนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงจรนี้เป็นการส่งเสริมตัวเอง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมประเทศที่ก้าวหน้าทางดิจิทัลจึงสามารถจึงสามารถดึงมูลค่าออกมาได้สูงกว่าอย่างมากจากคะแนน GDI ของพวกเขาที่ปรับปรุงดีขึ้น

การเชื่อมช่องว่าง: ข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ 

เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลแสดงให้เห็นทั้งความท้าทายและโอกาส สำหรับประเทศกลุ่มผู้เริ่มต้นและผู้นำมาใช้งาน สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในตำแหน่งล้าหลังมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตาม มันยังเสนอโอกาสในการก้าวข้ามขั้นตอนการพัฒนา (Leapfrogging) และระบุปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่โลกอัจฉริยะสี่ประการ ได้แก่ การเชื่อมต่อที่แพร่หลาย (Ubiquitous Connectivity) รากฐานทางดิจิทัล (Digital Foundations) พลังงานสีเขียว (Green Energy) และนโยบายและระบบนิเวศที่ให้การสนับสนุน (Supporting Policy & Ecosystem) เพื่อรับรองได้ว่าการพัฒนาทางดิจิทัลจะมีความยั่งยืนและยืดหยุ่นสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้

ประเทศกลุ่มผู้เริ่มต้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่ง ทั้งอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายและแบบไร้สาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าในทั้งสองด้าน (ที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายเกิน 150 เมกะบิตต่อวินาทีและความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือเกิน 80 เมกะบิตต่อวินาที) จะมีปริมาณธุรกรรมอีคอมเมิร์ซต่อหัวที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น

ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศ ‘ผู้เริ่มต้น’ ในดัชนี GDI เพิ่งเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาโครงข่ายใยแก้วนำแสงระดับชาติ ซึ่งทำให้ประชาชนเกือบ 6 ล้านคนใน 57 เมืองและเขตสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกับประชาชนอีก 16.4 ล้านคน อินโดนีเซียมีเครือข่าย 4G ครอบคลุมมากกว่า 94% ของเมืองและหมู่บ้าน และอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศอยู่ที่ 79.5% การพัฒนาที่สอดรับกันอย่างดีนี้ทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2566 เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียมีมูลค่า 8.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Unicorn) กว่า 15 แห่งถูกสร้างขึ้น ภายในปี 2573 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจะเกิน 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศที่อยู่ในกลุ่มผู้นำมาใช้งาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งด้านการเชื่อมต่อและรากฐานทางดิจิทัล การลงทุนในศูนย์ข้อมูล บริการคลาวด์ และศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถช่วยให้ประเทศเหล่านี้เร่งเพื่อเข้าสู่ความพร้อมทางดิจิทัลได้เร็วขึ้น แผนการขยายศูนย์ข้อมูลของเม็กซิโกแสดงให้เห็นถึงแนวทางนี้ ภายในปี 2572 ประเทศตั้งเป้าที่จะสร้างศูนย์ข้อมูลใหม่ 73 แห่ง เพื่อเสริมกับที่มีอยู่แล้ว 15 แห่ง โครงการนี้คาดว่าจะเพิ่ม GDP ของประเทศและสร้างงานโดยตรงและทางอ้อมจำนวน 68,198 ตำแหน่ง การลงทุนที่เจาะจงในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศผู้นำมาใช้งานสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในภาคส่วนสำคัญ ๆ ได้อย่างไร

สำหรับประเทศกลุ่มผู้นำ ความท้าทายคือการรักษาความเป็นผู้นำในด้านนี้ ซึ่งต้องการไม่เพียงแต่การลงทุนต่อเนื่องในเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนโยบายที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ให้ได้เต็มที่ ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าสัดส่วนของบัณฑิตจากสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จะคล้ายกันในทุกกลุ่ม (ประมาณ 25%) แต่ประเทศกลุ่มผู้นำจะสามารถเปลี่ยนบัณฑิตเหล่านี้ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ได้ถึง 95% ในขณะที่ประเทศผู้เริ่มต้นสามารถทำได้เพียง 15% เท่านั้น

อนาคตของเศรษฐกิจดิจิทัล

เมื่อเรามองสู่อนาคต เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เช่นการประมวลผลควอนตัม (Quantum Computing) และระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงมีศักยภาพที่จะขยายเอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลได้สูงขึ้นต่อไปอีก เทคโนโลยีเหล่านี้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในหลากหลายสาขา ตั้งแต่การค้นคว้ายาใหม่ ๆ ไปจนถึงการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศ ซึ่งจะสร้างเส้นทางใหม่ให้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ บทบาทของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการรับประกันความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจถูกมองข้ามได้ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลสามารถปรับตัวต่อการหยุดชะงักได้ดีกว่า โดยยังคงสามารถรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ได้ผ่านการทำงานทางไกล การศึกษาออนไลน์ และการบริการดิจิทัลต่าง ๆ

การตัดสินใจที่เราทำในวันนี้เกี่ยวกับการลงทุนในอนาคตทางดิจิทัลของเรา จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไปอีกหลายทศวรรษ เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลแสดงให้เราเห็นว่า ในการแข่งขันสู่การเป็นประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลนั้น มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เคย แต่ผลตอบแทนที่เป็นไปได้ก็สูงกว่าที่เคยเช่นกัน

[1] 1 World Economic Forum (WEF)

 

Source : หัวเว่ยนำเสนอบทความสำคัญในหัวข้อ "The Digital Dividend – ICT Maturity Fuels Economic Growth" ที่งาน GITEX GLOBAL ปี 2567

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.