เซินเจิ้น, จีน, 18 ตุลาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
โดยคุณหวง หยู (Huang Yu) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันการศึกษาประจำกลุ่มธุรกิจองค์กรหัวเว่ย
ในยุคที่การศึกษามีความชาญฉลาดมากขึ้น การสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการวิทยาเขต และบริการของโรงเรียนจึงอยู่ในระหว่างช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
- กิจกรรมการเรียนการสอนได้เปลี่ยนจากการใช้กระดานดำแบบดั้งเดิมมาเป็นเครื่องมือมัลติมีเดีย จากการเรียนรู้ในสถานที่ตายตัวไปเป็นทุกที่ทุกเวลา และจากการบรรยายแบบทางเดียวไปสู่การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น
- การวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องแก้ปัญหาการประมวลผลและการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง (HPDA) บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์
- บิ๊กดาต้ากลายเป็นพื้นฐานของการจัดการและการตัดสินใจด้านบริการที่ได้รับการพัฒนา ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องทราบข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแต่ละระบบบริการแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากบริการแบบกระจายศูนย์ไปสู่บริการแบบครบวงจรที่จุดเดียวเพื่อยกระดับประสบการณ์ของคณาจารย์และนักศึกษา
การเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดและรูปแบบที่ลึกซึ้งดังกล่าวนี้ส่งผลให้อุตสาหกรรมกระตือรือร้นที่จะสำรวจการบูรณาการด้านไอซีทีและการศึกษาในเชิงลึก การใช้เทคโนโลยีเช่นกราฟความรู้และบิ๊กดาต้าทำให้การเรียนรู้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ในขณะที่ 5G และระบบคลาวด์ช่วยให้การเรียนรู้แบบไฮบริดเข้าถึงได้มากขึ้น ความต้องการการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลกำลังเพิ่มสูงขึ้น แนวทางปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ได้กระตุ้นความสนใจของภาคส่วนในการประยุกต์ใช้ระบบไอซีที อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหม่ ๆ เช่น โครงสร้างที่กระจัดกระจาย โครงสร้างที่ซ้ำซาก ดาต้าไซโล และโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่ล้าสมัยก็กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน และจำกัดความพยายามในการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก การใช้เทคโนโลยีไอซีทีให้เกิดประโยชน์มากขึ้นเพื่อปรับปรุงและสร้างโมเดลการศึกษาถือเป็นความท้าทายเร่งด่วนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายในอุตสาหกรรม
พลิกโฉมการศึกษาอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีไอซีที
ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยเชื่อมั่นในการศึกษาที่มุ่งเน้นผู้คน เรามุ่งมั่นที่จะบูรณาการไอซีทีด้านต่าง ๆ เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ เข้ากับกระบวนการการศึกษาทั้งหมด เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการ และการบริการ โซลูชันการศึกษาอัจฉริยะของหัวเว่ยนั้นใช้เทคโนโลยีไอซีทีขั้นสูงเพื่อนำเสนอการโต้ตอบ การเชื่อมต่อ แพลตฟอร์ม และการใช้งานอัจฉริยะ มอบการสนับสนุนลูกค้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
- พลิกโฉมแนวคิดการศึกษาและปฏิบัติตามกรอบการออกแบบระดับสูงของประเทศ
ในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องจัดทำแผนรวมศูนย์และแนวทางปฏิบัติระดับสูง เพื่อนำไปปฏิบัติตามทีละขั้นตอน นโยบายต่าง ๆ ในระดับชาติของจีนเช่น แผนพัฒนาระยะกลางและระยะยาวสำหรับการจัดข้อมูลทางการศึกษา (2564-2578) และแผนห้าปีฉบับที่ 14 สำหรับการจัดข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษา ได้กำหนดเป้าหมายด้านข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกันสำหรับระดับอุดมศึกษา ระดับวิชาชีพ ระดับพื้นฐาน ระดับก่อนวัยเรียน โรงเรียนและการศึกษาผู้ใหญ่ นโยบายเหล่านี้ประสานการตั้งค่าสภาพแวดล้อมด้านข้อมูล ครอบคลุมเครือข่าย แพลตฟอร์มคลาวด์ เนื้อหา และมาตรฐานด้านข้อมูลเพื่อการศึกษา ตลอดจนนโยบายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำเป็นต้องลงทุนด้านกำลังคน เงินทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อวางแผนงานด้านข้อมูลข่าวสารให้เป็นไปตามแผนระยะยาว เมื่อพูดถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษามักจะขาดความสามารถด้านไอซีทีที่แข็งแกร่ง ดังนั้น แผนกการจัดการการศึกษาจำเป็นต้องเป็นผู้นำในการมอบการสนับสนุนแพลตฟอร์มและการใช้งานเพิ่มเติม เพื่อให้โรงเรียนสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีทั่วไปได้
ด้วยความสามารถด้านไอซีที และความเข้าใจในอุตสาหกรรมของเรา หัวเว่ยจึงเสนอแนวคิด "ชุมชนการศึกษาดิจิทัล" โดยเรามุ่งหวังที่จะใช้สิ่งนี้เพื่อสร้างการเชื่อมต่อและการรวมตัวด้านทรัพยากรการศึกษาในทุกสถานการณ์ รวมถึงการเปิดกว้างและการทำงานร่วมกันทุกมิติ แนวคิดนี้จะรวมไว้ซึ่งการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงแบบครบวงจรเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ เครือข่าย เอดจ์ และอุปกรณ์ขั้นสูง
- โซลูชันการศึกษาอัจฉริยะ "ห้าเดียว"
หัวเว่ยได้สร้างสถาปัตยกรรมทางเทคนิคการศึกษาอัจฉริยะอย่าง "ห้าเดียว" (Five Ones) ซึ่งประกอบด้วยหน้าจอเดียว (one screen) เครือข่ายเดียว (one network) คลาวด์เดียว (one cloud) แพลตฟอร์มเดียว (one platform) และพอร์ทัลเดียว (one portal)
หน้าจอเดียวคืออินเทอร์เฟซเทอร์มินัลสำหรับการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่แสดงโดยเทอร์มินัลการแสดงผลต่าง ๆ เช่นพีซี แท็บเล็ต ดิจิทัล เทอร์มินัลการประชุม กระดานดำอัจฉริยะ และหน้าจอแอลอีดีขนาดใหญ่ โดยในสถานการณ์ต่าง ๆ จะมีเทอร์มินัลโต้ตอบอัจฉริยะที่ตรงกันเพื่อรวบรวมและแสดงข้อมูลตามความต้องการของแต่ละวิชาการศึกษา แนวคิด "หน้าจอเดียว" มีความสำคัญต่อการศึกษาอัจฉริยะเทียบเท่ากับกุญแจที่ไว้ไขล็อก เนื่องจากเป็นประตูสู่ทั้งระบบให้กับผู้ใช้
เครือข่ายเดียวที่ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีและการใช้งานใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านการสอน การจัดการในโรงเรียน และบริการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันเครือข่ายไม่เพียงแต่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังเชื่อมต่อกับเทอร์มินัล IoT และอุปกรณ์อัจฉริยะอีกด้วย ด้วยเทคโนโลยีเช่น 5G เครือข่ายออปติก และ Wi-Fi 7 ทำให้หัวเว่ยผสานรวมเครือข่ายแบบสาย เครือข่ายไร้สาย เครือข่ายสำนักงาน และเครือข่าย IoT เข้ากับเครือข่ายวิทยาเขต เครือข่ายมหานครการศึกษา เครือข่ายการศึกษาและการวิจัย และอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้จะสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่ปลอดภัย เสถียร และเป็นหนึ่งเดียว เพิ่มขีดความสามารถของระบบการบริการตลอดจนประสบการณ์ผู้ใช้
หัวเว่ยสร้างคลาวด์อัจฉริยะหนึ่งเดียวด้านการศึกษาด้วยมาตรฐานและบริการแบบรวมศูนย์เพื่อบูรณาการการเรียนรู้อัจฉริยะ การสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การประเมินผล การจัดการ และวิทยาเขตเข้าไว้ด้วยกัน สร้างระบบนิเวศการศึกษาอัจฉริยะที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยวิธีนี้ คุณภาพของการสอนและการเรียนรู้จะดีขึ้นอย่างมาก มอบการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
แพลตฟอร์มเดียวคือแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการศึกษาสาธารณะ ที่รองรับการใช้งานอัจฉริยะด้านการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการ และบริการ แบ่งปันข้อมูลบนคลาวด์ เครือข่าย อุปกรณ์ และระบบ กำจัดการแยกเก็บข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก แพลตฟอร์มนี้ทำให้เกิดนวัตกรรมที่คล่องตัวด้านบริการการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างคลาวด์-ไปป์-อุปกรณ์ สำหรับเชื่อมต่อพื้นที่ทางกายภาพและดิจิทัล นำไปสู่บริการข้อมูลการศึกษาและการกำกับดูแลที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (IOC) และซูเปอร์แอปของวิทยาเขตถูกสร้างขึ้นในพอร์ทัลเดียว เพื่อการดำเนินงานและการจัดการแบบรวมศูนย์ ทำหน้าที่เป็นพื้นที่แสดงผลแบบครบวงจรสำหรับการสอน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจัดการ และการบริการ หัวหน้าสถานศึกษาสามารถติดตามสถานะของวิทยาเขตผ่าน IOC และบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่แผนกโลจิสติกส์ ความปลอดภัย ข้อมูล และแผนกอื่น ๆ สามารถดำเนินงานแบบรวมศูนย์ อัตโนมัติ และชาญฉลาดยิ่งขึ้น ขณะที่ซูเปอร์แอปจะเป็นพอร์ทัลการศึกษาอัจฉริยะแบบครบวงจรที่เชื่อมโยงผู้คน กิจกรรม และสิ่งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการใช้งานคลาวด์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกผ่านแอปเดียวเท่านั้น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถสร้างพอร์ทัลวิทยาเขตเคลื่อนที่โดยใช้ซูเปอร์แอปเพื่อให้บริการบนมือถือที่ครอบคลุมการทำงาน การเรียนรู้ และการใช้ชีวิต โดยบรรลุเป้าหมายที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรม ก้าวไปข้างหน้าด้วยการศึกษาอัจฉริยะ
จนถึงวันนี้ หัวเว่ยได้ให้บริการแก่กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยมากกว่า 2,800 แห่งในกว่า 120 ประเทศและภูมิภาค โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่า 30 แห่งในการจัดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจากคิวเอส (QS World University Rankings) ได้เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
ในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงมีส่วนร่วมเชิงลึกในอุตสาหกรรมการศึกษา บูรณาการบิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ และระบบคลาวด์เข้ากับสถานการณ์การศึกษาอย่างยืดหยุ่น เพื่อพัฒนาโซลูชันตามสถานการณ์ร่วมกับพันธมิตร และขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาคุณภาพสูงผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
บทความนี้ถูกคัดเลือกมาจากนิตยสารไอซีที อินไซต์ส (ICT Insights) ฉบับสมาร์ต เอ็ดดูเคชัน (Smart Education) โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย https://e.huawei.com/en/ict-insights/global/ict_insights/ict34-intelligent-education
ติดต่อ:
hwebgcomms@huawei.com
Source : หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันการศึกษาอัจฉริยะ "ห้าเดียว" สำหรับชุมชนการศึกษาดิจิทัล
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner.The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.