บอร์โด, ฝรั่งเศส–26 ตุลาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
การประชุมสุดยอดว่าด้วยประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก (Global ICT Energy Efficiency Summit) ครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด "ไซต์สีเขียว อนาคตสดใส" (Green Site, Brighter Future) ได้เปิดฉากขึ้นที่เมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมชั้นนำ ผู้จำหน่ายเสาสัญญาณ สถาบันวิจัย องค์กรกำหนดมาตรฐาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายสำคัญอื่น ๆ จากทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งสร้างเครือข่ายสีเขียวและคาร์บอนต่ำ พร้อมปลดปล่อยศักยภาพของไซต์ด้วยนวัตกรรมใหม่ เช่น โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP)
ในการกล่าวเปิดงาน คุณฟาง เลี่ยงโจว (Fang Liangzhou) รองประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของหัวเว่ย ดิจิทัล เอเนอร์จี (Huawei Digital Energy) ได้เน้นย้ำว่า แม้ว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องแบกรับแรงกดดันจากการลดการปล่อยคาร์บอนและจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น แต่ก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากไซต์และทรัพยากรด้านพลังงานที่มีอยู่ในการเพิ่มรายได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบกิจการสามารถนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัวมาใช้ออนไซต์ และเชื่อมระบบกักเก็บพลังงานออนไซต์กับโรงไฟฟ้าเสมือน เพื่อชาร์จไฟในช่วงที่ค่าไฟถูกและจ่ายออกในช่วงที่ค่าไฟแพง (peak staggering) หรือสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในพื้นที่ คุณฟางยังกล่าวด้วยว่า การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นฉันทามติร่วมกันของทั่วโลกไปแล้ว และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกำลังเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้พลังงาน ไปเป็นทั้งผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้ให้การสนับสนุนด้านพลังงาน ขณะที่หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมประสบความสำเร็จในขณะที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะ
อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังมุ่งมั่นก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและหันไปใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนต่อโครงข่ายไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีความเสี่ยง ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เราสามารถใช้โรงไฟฟ้าเสมือนเพื่อกักเก็บไฟฟ้าและกำหนดตารางการจ่ายไฟฟ้าแบบกระจายตัว ซึ่งจะทำให้โครงข่ายไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าเสมือนมีข้อกำหนดสูงในด้านขนาดโดยรวมและความสามารถในการตอบสนอง (ความเร็ว ช่วงเวลา และความแม่นยำ) ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว
ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยยจึงเปิดตัวโซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะ (Smart VPP Solution) ที่มีอัลกอริทึมอัจฉริยะและฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- เรียบง่าย: ระบบโรงไฟฟ้าเสมือนดังกล่าวเป็นแบบสร้างเครือข่ายในตัวและแยกออกจากเครือข่ายที่กำลังให้บริการ โดยปรับใช้ได้อย่างง่ายและไม่ส่งผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมและความปลอดภัยของบริการที่มีอยู่ ทั้งยังสามารถเพิ่มเข้าไปได้อย่างราบรื่นกับทุกไซต์และทุกสภาพการใช้งาน
- อัจฉริยะ: แพลตฟอร์มการจัดการพลังงานของหัวเว่ยอาศัยการทำงานร่วมกันของคลาวด์-เครือข่าย และการกำหนดเวลาอัจฉริยะโดยอิงจากการวิเคราะห์และการคาดการณ์ข้อมูลบิ๊กดาต้า นอกจากนี้ เกตเวย์อัจฉริยะและแบตเตอรี่ลิเธียมของโรงไฟฟ้าเสมือนยังประกอบเป็นฮาร์ดแวร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งรับประกันว่าทำงานพร้อมกันเป็นจำนวนมากได้ ตอบสนองฉับไว และให้ความแม่นยำสูง
- ครอบคลุม: ระบบโรงไฟฟ้าเสมือนหนึ่งระบบสามารถบูรณาการบริการหลายอย่างเข้าด้วยกันได้ เช่น การชาร์จไฟในช่วงที่ค่าไฟถูกและจ่ายออกในช่วงที่ค่าไฟแพง (peak staggering) การตอบสนองด้านการใช้ไฟฟ้า (demand-side response) และการตอบสนองต่อความถี่ (frequency response) นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าเสมือนยังใช้อัลกอริทึมซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดเวลา เพื่อให้มั่นใจได้ในความปลอดภัยของบริการ ขณะเดียวกันก็เพิ่มรายได้จากบริการโรงไฟฟ้าเสมือนให้ได้สูงสุด
คุณหลี่ เส้าหลง (Li Shaolong) รองประธานฝ่าย Site Power Facility Domain ของหัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ กล่าวว่า โซลูชันโรงไฟฟ้าเสมือนอัจฉริยะของหัวเว่ยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้รับประโยชน์ใหม่ ๆ จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม โดยหัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้วางโครงข่ายไฟฟ้า องค์กรมาตรฐานอุตสาหกรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงไฟฟ้าเสมือนอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของไซต์ที่รองรับโรงไฟฟ้าเสมือน
ไซต์สีเขียว: ฉันทามติของอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และการรับ-ส่งข้อมูลภายในเครือข่ายก็เติบโตอย่างรวดเร็ว หากปราศจากนวัตกรรม เครือข่ายของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของอุตสาหกรรมดิจิทัลจึงจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ดังนั้น การใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อสร้างไซต์สีเขียวจึงกลายเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในอุตสาหกรรม
ในโอกาสนี้ คุณหลี่ เส้าหลง ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "โซลูชันพลังงานอัจฉริยะของหัวเว่ยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวในอุตสาหกรรมไอซีที" (Huawei Intelligent Energy Solution Accelerates ICT Green Transformation) โดยระบุว่า โซลูชันพลังงานอัจฉริยะของหัวเว่ยสามารถช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวในอุตสาหกรรมไอซีที และช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเปลี่ยนจากผู้ใช้พลังงานไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงาน โดยในฐานะผู้ใช้พลังงานนั้น ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจำเป็นต้องใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและบริโภคพลังงานให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบกิจการก็มีไซต์อยู่มากมาย จึงสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ผลิตพลังงานได้ด้วยการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน จากนั้นบูรณาการเข้ากับโรงไฟฟ้าเสมือนเพื่อจำหน่ายพลังงานที่กักเก็บได้ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย "คาร์บอนคู่ขนาน" (Dual Carbon) ในที่สุด
คุณหลี่กล่าวเสริมว่า ในอนาคต หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ จะยังคงช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในการสร้างเครือข่ายสีเขียวและคาร์บอนต่ำ ตลอดจนทำงานร่วมกับพันธมิตรจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อนำเสนอโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อไป
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner.The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.