• อ็อคตาฟาร์มา (Octapharma) เตรียมนำเสนอข้อค้นพบใหม่ทางคลินิกและทางวิทยาศาสตร์สำหรับ wilate® และ Nuwiq® ในงานประชุม ISTH ประจำปี 2567 ที่กำลังจะจัดขึ้น
  • ข้อมูลใหม่และการพัฒนาจากการศึกษาวิจัยทางคลินิกจะนำเสนอในเจ็ดการบรรยาย สองโปสเตอร์ภาคนิทัศน์ และการประชุมวิชาการย่อยสองกลุ่ม

ลาเคิน สวิตเซอร์แลนด์, 10 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ — การพัฒนาล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหิตวิทยาของอ็อคตาฟาร์มา (Octapharma) จะนำเสนอในการประชุมสมาคมนานาชาติว่าด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันและกลไกการห้ามเลือด (Congress of the International Society on Thrombosis and Haemostasis หรือ ISTH) ครั้งที่ 32 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2567 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยข้อมูลจะนำเสนอในเจ็ดการบรรยาย สองโปสเตอร์ภาคนิทัศน์ และการประชุมวิชาการย่อย (Supported Symposia) สองกลุ่มระหว่างการประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญนี้ ทั้งนี้ อ็อคตาฟาร์มาภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้สนับสนุนระดับเงิน (Silver Supporter) ของการประชุม ISTH ประจำปี 2567 อีกทั้งยังจะจัดแสดงโซลูชันสมัยใหม่สำหรับการจัดการกับภาวะเลือดออกเฉียบพลันและการแข็งตัวของเลือดในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยหนัก

ภาวะเลือดออกผิดปกติ อย่างเช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่ายหยุดยาก ชนิดเอ (hemophilia A) และโรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand disease หรือ VWD) มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกซ้ำและยาวนาน ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ยังก่อผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วย

การนำเสนอในงาน ISTH ประจำปี 2567 สะท้อนพันธกิจระยะยาวของอ็อคตาฟาร์มาที่จะยกระดับการดูแลผู้ป่วย และจัดการกับความต้องการทางคลินิกที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง

อ็อคตาฟาร์มาตื่นเต้นที่จะได้นำเสนอข้อค้นพบและผลการศึกษาล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหิตวิทยาและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในงาน ISTH ประจำปี 2567” คุณ Olaf Walter สมาชิกคณะกรรมการของอ็อคตาฟาร์มา กล่าว “ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติและการแข็งตัวของเลือดผิดปกติยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายในการดูแลประจำวันและการจัดการกับภาวะเลือดออก ในแง่นี้ ที่อ็อคตาฟาร์มา เรายังคงมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อการวิจัยระดับแนวหน้าที่จะยกระดับชีวิตผู้ป่วย

การบรรยายนำเสนอ

แม้ว่าการป้องกันโรค (prophylaxis) จะเป็นการดูแลมาตรฐานสำหรับโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอขั้นรุนแรง แต่ก็ยังมีการใช้น้อยเกินไปในโรควอนวิลลิแบรนด์ ในแง่นี้ WIL-31 ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการป้องกันโรคในโรค VWD แสดงความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของการป้องกันโรคด้วยวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์และแฟคเตอร์แปด (factor VIII) เข้มข้นจากพลาสมา (wilate®) ในผู้ป่วยโรค VWD ในการนี้ หัวหน้าคณะวิจัย Dr Robert F. Sidonio Jr. จะนำเสนอการวิเคราะห์ย่อยของข้อมูลจากการศึกษาซึ่งสำรวจความแตกต่างในบริเวณที่มีเลือดออกในโรค VWD ทุกชนิดและทุกกลุ่มอายุ โดยการป้องกันโรคมีการทนต่อผลข้างเคียงได้ดีในทุกกลุ่มอายุในผู้ป่วยโรค VWD ชนิด 3 ทั้ง 22 รายซึ่งรวมอยู่ประชากรการวิเคราะห์

MOTIVATE เป็นการศึกษาวิจัยระดับนานาชาติซึ่งริเริ่มโดยผู้วิจัย ที่กำลังดำเนินอยู่โดยได้รับการสนับสนุนจากอ็อคตาฟาร์มา เอจี (Octapharma AG) เพื่อประเมินการจัดการกับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอที่มีสารต้าน ในการนี้ Dr Carmen Escuriola-Ettingshausen หนึ่งในผู้วิจัยประสานงานของการศึกษาครั้งนี้ จะนำเสนอการวิเคราะห์ผลก่อนสิ้นสุดของการศึกษา

ภาวะข้อเสื่อมจากฮีโมฟีเลียเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ และการวินิจฉัยพบแต่เนิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการลดผลกระทบระยะยาว การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ได้ระบุลักษณะเฉพาะของไมโครอาร์เอ็นเอ (microRNAs) ที่ไม่มีการแปลรหัสขนาดเล็กที่ไหลเวียนอยู่หลายตัว ซึ่งอาจสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะข้อเสื่อมจากฮีโมฟีเลีย งานในอนาคตจะสำรวจไมโครอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับระยะแรกเริ่มของภาวะดังกล่าวนี้ในการศึกษาย่อยของการทดลองทางคลินิก PROVE

มีการสังเกตพบการทำงานของเนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือดขนาดเล็กที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ โดยมีการสังเกตพบทิวบูโลเจเนซิส (tubulogenesis) บกพร่อง ซึ่งคือการเคลื่อนที่และสภาวะการซึมผ่านได้ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือดจากผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ เมื่อเทียบกับจากผู้ป่วยที่มีสุขภาพดี ข้อมูลใหม่จะนำเสนอโดยแสดงว่า Nuwiq® สามารถจับตัวเข้ากับพื้นผิวเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือด เพื่อทำให้ทำงานได้ดีขึ้น

แฟคเตอร์แปดมีปฏิกิริยาทางกายภาพกับเกล็ดเลือดหลังเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือดเพื่อให้การก่อตัวของลิ่มเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การดัดแปลงแฟคเตอร์แปดที่แตกต่างกันอาจส่งผลกระทบต่อการจับตัวกับเกล็ดเลือดและการถ่ายโอนสัญญาณภายในเซลล์ ข้อมูลจะนำเสนอโดยชี้ว่า Nuwiq® แสดงการจับตัวกับเกล็ดเลือดที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์เทียบเคียง และความแตกต่างเหล่านี้ในการจับตัวกับเกล็ดเลือดอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิศักย์ของผลิตภัณฑ์แฟคเตอร์แปดสายผสม (rFVIII) ในการรักษาโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ

การบรรยายนำเสนอมีกำหนดการตามเวลาดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ที่ 23 มิถุนายน

•  OC 27.5: ผลกระทบของความแตกต่างในการจับกันของแฟคเตอร์แปดสายผสมเข้มข้นกับเกล็ดเลือด ต่อการทำงานของการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (Impact of differential binding of recombinant factor VIII concentrates to platelets on platelet clotting functionality.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Viola Vogel 15:45–16:00 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 210 A-D

วันจันทร์ ที่ 24 มิถุนายน

•  OC 35.1: แฟคเตอร์แปดกำกับโปรตีนเคลือบเซลล์เพื่อกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่และความคงตัวของหลอดเลือด (Factor VIII regulates extracellular matrix proteins to stimulate angiogenesis and vessel stability.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Alessia Cucci 9:30–9:45 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 110 A-C

•  OC 36.4: แบบแผนการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอมีศักยภาพเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสุขภาพข้อต่อและกระดูกในโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ (miRNA expression profiles as a potential biomarker of joint and bone health in haemophilia A.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Yesim Dargaud 10:15–10:30 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 111 A-C

•  OC 36.5: แฟคเตอร์แปดเป็นตัวกำกับการสร้างหลอดเลือดใหม่และตัวส่งเสริมความคงตัวของตัวกั้นผนังหลอดเลือด (Factor VIII is a regulator of angiogenesis and a promoter of endothelial barrier stability.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Antonia Follenzi 10:30–10:45 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 111 A-C

วันอังคาร ที่ 25 มิถุนายน

•  OC 63.4: บริเวณที่เลือดออกในผู้ป่วยโรควอนวิลลิแบรนด์กับการป้องกันโรคด้วยวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์และแฟคเตอร์แปด (factor VIII) เข้มข้นที่ได้จากพลาสมา – การวิเคราะห์ย่อยกับข้อมูลจากการศึกษาวิจัย WIL-31 (Bleeding Sites in von Willebrand Disease Patients on Prophylaxis with a Plasma-derived von Willebrand Factor/Factor VIII Concentrate – A Sub-Analysis of Data from the WIL-31 Study.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Robert F Sidonio Jr. 15:30–15:45 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง Ballroom B3

•  OC 61.4: กลยุทธ์ Immune tolerance induction (ITI) ในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอที่มีสารต้าน – การวิเคราะห์ก่อนสิ้นสุดจากการศึกษาวิจัย MOTIVATE (Immune tolerance induction (ITI) strategies in haemophilia A patients with inhibitors – Interim analysis from the MOTIVATE study.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Carmen Escuriola-Ettingshausen. 15:45–16:00 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง Ballroom B1

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน

•  OC 73.5: ประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของการป้องกันโรคด้วยวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์และแฟคเตอร์แปดเข้มข้นในผู้ป่วยโรควอนวิลลิแบรนด์ชนิด 3 – การวิเคราะห์ย่อยกับข้อมูลจากการศึกษาวิจัย WIL-31 (Efficacy and Safety of Prophylaxis with a Plasma-derived von Willebrand Factor/Factor VIII Concentrate in Type 3 Patients with von Willebrand Disease – A Sub-Analysis of Data from the WIL-31 Study.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Robert F Sidonio Jr. 11:15–11:30 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง Ballroom B4

การนำเสนอโปสเตอร์ภาคนิทัศน์

การนำเสนอโปสเตอร์ภาคนิทัศน์มีกำหนดการตามเวลาดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ที่ 23 มิถุนายน

•  PB 0251 – การเปรียบเทียบโดยอ้อมสำหรับประสิทธิศักย์ของการป้องกันโรคระหว่าง simoctocog alfa กับ efanesoctocog alfa ในโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอและราคาในสหรัฐอเมริกา (Indirect comparison of prophylaxis efficacy between simoctocog alfa and efanesoctocog alfa in severe hemophilia A and their cost in the United States.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Craig M. Kessler. 13:45–14:45 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้องโถงนิทรรศการ (Exhibition Hall)

วันอังคาร ที่ 25 มิถุนายน

•  PB 1102 – สารประกอบเชิงซ้อนโควาเลนต์ของแฟคเตอร์แปดในการแข็งตัวของเลือดและชิ้นส่วนวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์แสดงความคงตัวและครึ่งชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแบบจำลองสัตว์และรักษาการทำงานของแฟคเตอร์ (Covalently linked complexes of coagulation factor VIII and von Willebrand factor fragment display increased stability and half-life in animal models and retain their function.)
ผู้นิพนธ์ผู้นำเสนอ: Barbara Solecka-Witulska. 13:45–14:45 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้องโถงนิทรรศการ (Exhibition Hall)

การประชุมวิชาการย่อย

การประชุมวิชาการย่อยสองกลุ่มในงานประชุมครั้งนี้จะเผยแพร่ข้อมูลทางคลินิกและทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยที่ดำเนินอยู่และการศึกษาวิจัยใหม่เกี่ยวกับโรคฮีโมฟีเลียเอและโรควอนวิลลิแบรนด์

•  รู้ความก้าวหน้าของวันพรุ่งนี้ในวันนี้ – การค้นพบครั้งสำคัญในการป้องกันเลือดออกแบบรอบด้าน (Learn About Tomorrow’s Advances Today – Breakthrough in All-Round Bleed Protection)  วันอาทิตย์ 23 มิถุนายน 12:15–13:30 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 208
ประธาน: Guy Young โรงพยาบาลเด็กลอสแอนเจลิส (Children’s Hospital Los Angeles) และโรงเรียนแพทย์เค็ก (Keck School of Medicine) ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

การประชุมวิชาการของอ็อคตาฟาร์มาเกี่ยวกับโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอปีนี้มุ่งเน้นงานวิจัยที่ก้าวหน้าล้ำสมัยซึ่งให้ความสำคัญกับการป้องกันเลือดออก โดยวิทยากรจะนำเสนอผลลัพธ์แรกจากการวิเคราะห์ก่อนสิ้นสุดของการศึกษาวิจัย MOTIVATE และแนะนำการศึกษาวิจัย PROVE ซึ่งสำรวจสุขภาพกระดูกและข้อต่อ การประชุมวิชาการนี้ยังจะสำรวจบทบาทสำคัญของการจับตัวของแฟคเตอร์แปดกับเกล็ดเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงหลอดเลือดในโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ

•  ยกระดับมุมมองเชิงลึกว่าด้วยการป้องกันโรคในโรควอนวิลลิแบรนด์ – คุณตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยอยู่หรือไม่? (Next Level Insights on Prophylaxis in von Willebrand Disease – Are You Addressing Your Patient’s Needs?) วันจันทร์ 24 มิถุนายน 12:15–13:30 เขตเวลาอินโดจีน (ICT) ห้อง 210
ประธาน: Craig Kessler ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University Medical Center) วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา

การประชุมวิชาการนี้จะสำรวจบทบาทสำคัญของการป้องกันโรคในโรควอนวิลลิแบรนด์ขั้นรุนแรง หัวข้อที่นำเสนอจะประกอบด้วยความสำคัญของการป้องกันโรคและวิธีการระบุผู้ป่วยที่อาจได้รับประโยชน์จากการรักษาเชิงป้องกัน จะมีการนำเสนอบทเรียนสำคัญจากการศึกษาวิจัย WIL-31 ว่าด้วยการป้องกันโรคในโรค VWD ตลอดจนบทบาทสำคัญของการป้องกันโรคในการจัดการกับภาวะประจำเดือนออกมากผิดปกติในสตรีที่เป็นโรค VWD นอกจากนี้ยังจะมีการอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ อีกทั้งจะมีการแนะนำการศึกษาวิจัย VIP และ EMPOWER

การประชุมวิชาการทั้งสองกลุ่มนี้จะเปิดให้เข้าร่วมโดยผู้เข้าร่วมงานประชุมในกรุงเทพฯ และจะถ่ายทอดสดสำหรับผู้เข้าร่วมที่ไม่ได้มายังงานประชุมโดยตรง โดยจะเปิดโอกาสให้ถามคำถามสำหรับการประชุมวิชาการทั้งสองกลุ่ม

ในการนี้ คุณ Larisa Belyanskaya รองประธานอาวุโสและหัวหน้าแผนกธุรกิจโลหิตวิทยาระหว่างประเทศของอ็อคตาฟาร์มา กล่าวแสดงความเห็นว่า

“เราตื่นเต้นที่ได้นำเสนอมุมมองเชิงลึกใหม่ ๆ จากข้อมูลการศึกษาวิจัย WIL-31 และจะสำรวจความสำคัญของการป้องกันโรคสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่จำเพาะในเชิงลึก ตลอดจนอภิปรายคำถามทางคลินิกและทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรควอนวิลลิแบรนด์และฮีโมฟีเลียชนิดเอ”

เกี่ยวกับ Nuwiq®

Nuwiq® (simoctocog alfa) เป็นโปรตีนแฟคเตอร์แปดสายผสม (recombinant factor VIII หรือ rFVIII) รุ่นที่ 4 ผลิตขึ้นในเซลล์ไลน์มนุษย์โดยไม่มีการดัดแปลงทางเคมีหรือเชื่อมเข้ากับโปรตีนอื่น[1] เพาะเลี้ยงโดยไม่ได้เติมสารที่ได้มาจากมนุษย์หรือสัตว์เข้าไป ไม่มีเอพิโทปโปรตีนที่ไม่ได้มาจากมนุษย์ในลักษณะที่กระตุ้นการสร้างแอนติบอดี และมีความใกล้เคียงสูงกับวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์ (Willebrand factor)[1]

การรักษาด้วย Nuwiq® ได้รับการประเมินทางคลินิกจนเสร็จสิ้นไปแล้ว 9 ครั้ง[1,2,3] ซึ่งประกอบด้วยผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเออาการรุนแรงที่เคยได้รับการรักษาแล้ว 201 ราย (190 คน)[1] และผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษา 108 ราย[2] Nuwiq® มีวางจำหน่ายในขนาด 250 IU, 500 IU, 1000 IU, 2000 IU, 2500 IU, 3000 IU และ 4000 IU[4] Nuwiq® ได้รับการอนุมัติสำหรับใช้รักษาและป้องกันอาการเลือดออกในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ (ขาดแฟคเตอร์แปดตั้งแต่กำเนิด) ในทุกกลุ่มอายุ[4]

เกี่ยวกับ wilate®

wilate® เป็นวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์ (VWF) และแฟคเตอร์ แปด (FVIII) เข้มข้นความบริสุทธิ์สูงที่มาจากมนุษย์ โดยผ่านการทำลายไวรัส 2 ขั้นตอนระหว่างการผลิต[1]

ไม่มีการเสริมอัลบูมินเพื่อใช้เป็นสารให้ความคงตัว[5] กระบวนการทำให้บริสุทธิ์เหล่านี้ก่อให้เกิดอัตราส่วน 1:1 ระหว่างวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์กับแฟคเตอร์แปดที่คล้ายคลึงกับพลาสมาปกติ[1] wilate® ประกอบด้วยโครงสร้างวอนวิลลิแบรนด์แฟคเตอร์แบบคู่สาม และมีมัลติเมอร์น้ำหนักโมเลกุลสูงจำนวนมากที่ใกล้เคียงกับพลาสมาปกติของมนุษย์[1] wilate® สร้างขึ้นมาจากพลาสมามนุษย์ที่รวบรวมไว้ในศูนย์บริจาคพลาสมาที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น[6] วางจำหน่ายในขนาด 500 IU และ 1000 IU wilate® มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและรักษาอาการตกเลือดหรือภาวะเลือดออกขณะผ่าตัดรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์ (VWD) เมื่อรักษาด้วยยาเดสโมเพรสซิน (DDAVP) อย่างเดียวแล้วไม่ได้ผลหรือห้ามรักษาด้วยวิธีนี้ และเพื่อใช้รักษาและป้องกันภาวะเลือดไหลในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิดเอ (ขาดแคลนแฟคเตอร์แปดมาตั้งแต่กำเนิด)[6]

เกี่ยวกับอ็อคตาฟาร์มา

อ็อคตาฟาร์มา (Octapharma) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองลาเคิน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โปรตีนมนุษย์รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นผู้พัฒนาและผลิตโปรตีนมนุษย์จากพลาสมาและเซลล์ไลน์ของมนุษย์ อ็อคตาฟาร์มามีพนักงานเกือบ 12,000 คนทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยใน 118 ประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ครอบคลุมการรักษา 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ภูมิคุ้มกันบำบัด โลหิตวิทยา และการดูแลขั้นวิกฤติ

อ็อคตาฟาร์มามีศูนย์วิจัยและพัฒนา 7 แห่ง และมีโรงงานผลิตล้ำสมัย 5 แห่งในออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และสวีเดน โดยบริหารงานในศูนย์บริจาคพลาสมากว่า 195 แห่งทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ข่าวประชาสัมพันธ์ของอ็อคตาฟาร์มามีกลุ่มเป้าหมายคือสื่อสายสุขภาพ/การแพทย์โดยเฉพาะ มิใช่ผู้บริโภคทั่วไป”

[1] Lissitchkov T et al. Ther Adv Hematol 2019; 10:2040620719858471.
[2] Liesner RJ et al. Thromb Haemost 2021; 121:1400–8.
[3] Octapharma AG ข้อมูลในไฟล์
[4] สรุปข้อมูลผลิตภัณฑ์ Nuwiq® (Summary of Product Characteristics)
[5] Stadler M et al. Biologicals 2006; 34:281-8.
[6] สรุปข้อมูลผลิตภัณฑ์ wilate® (Summary of Product Characteristics)

โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/2434367/Octapharma_Logo.jpg?p=medium600 

 

 

Source : อ็อคตาฟาร์มา นำเสนอการสานต่อความมุ่งมั่นที่จะยกระดับชีวิตผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติที่หายาก ในงาน ISTH ประจำปี 2567

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.