ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 24 ต.ค. 2567 /PRNewswire/ — เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 ในงานประชุมสุดยอด 5G Core Network Summit ครั้งที่ 9 จัดโดย Informa Tech ที่นครดูไบนั้น บรรดาผู้นำในอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากทั่วโลกได้มารวมตัวกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นล้ำสมัยต่าง ๆ อาทิ 5G SA, บริการเสียง, คลาวด์โทรคมนาคม, โครงข่ายอัตโนมัติ และโครงข่ายคอร์ 5.5G โดยคุณนพดล พวงศรี หัวหน้าฝ่ายวางแผนและปฏิบัติการโครงข่ายหลักของเอไอเอส ได้ขึ้นปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Building a High-Resilience, High-Efficiency Core Network” (สร้างโครงข่ายหลักที่มีความเสถียรและประสิทธิภาพสูง) พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์กับ Informa เกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพโครงข่ายหลักของเอไอเอส
เอไอเอสในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้พัฒนาเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุด พร้อมให้บริการครอบคลุมทั้งโมบายล์, บริการอินเทอร์เน็ตบ้านบรอดแบนด์ประจำที่, โซลูชันเครือข่ายสำหรับองค์กร และบริการดิจิทัล ด้วยเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมประชากรกว่า 95% ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นแตะ 10.6 ล้านราย
คุณนพดลเน้นย้ำว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์ได้เพิ่มความซับซ้อนให้กับโครงข่ายหลัก ส่งผลให้มีความเสี่ยงมากขึ้นในเรื่องความเสถียรและประสิทธิภาพ เอไอเอสจึงยังคงลงทุนพัฒนาความเสถียรของโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอกลยุทธ์ส่งเสริมความยืดหยุ่นของเครือข่าย หรือ Network Resilience เพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในการให้บริการอย่างไร้การขัดข้อง (Zero Service Outage) ภายในเวลา 3 ปี ปัจจุบัน กลยุทธ์ด้านความเสถียรของโครงข่ายเอไอเอสมุ่งเน้น 3 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ การป้องกันความเสี่ยง การแสดงผลโครงข่าย และการกู้คืนบริการ
- ในเรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้น เอไอเอสได้นำโซลูชัน MDAF มาใช้ในการป้องกันและควบคุมสัญญาณที่หนาแน่น โซลูชันนี้ช่วยให้สามารถจำลองสถานะของโครงข่ายได้โดยอัตโนมัติเป็นประจำ เพื่อระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า การเปลี่ยนจากการบำรุงรักษาเชิงรับมาเป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันนั้น ช่วยให้เอไอเอสสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อน และรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจได้
- ส่วนในด้านการแสดงผลโครงข่าย เอไอเอสได้นำโซลูชันการแสดงผลโครงข่ายคลาวด์ที่ใช้ MDAF มาใช้งาน โซลูชันที่มีความก้าวล้ำนี้ช่วยให้สามารถแสดงผลและวิเคราะห์โครงข่ายคลาวด์ที่ซับซ้อนได้ถึง 5 ชั้น ทำให้เอไอเอสสามารถตรวจจับความผิดปกติของโครงข่ายได้อย่างรวดเร็ว
- สำหรับการกู้คืนบริการภายใน 30 นาที เอไอเอสได้นำโซลูชัน Bypass และ Localization มาใช้ เพื่อรับประกันว่าผู้ใช้บริการ 70% จะยังคงใช้งานได้แม้เกิดการขัดข้องของโครงข่ายขนส่ง วิธีการนี้ช่วยให้ผู้ใช้บริการยังสามารถใช้บริการข้อมูลที่จำเป็นและบริการเสียง VoLTE ได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ คุณนพดลยังเน้นย้ำความสำคัญของประสิทธิภาพโครงข่าย โดยเอไอเอสได้พัฒนากลยุทธ์โครงข่ายอัตโนมัติ เพื่อยกระดับความชาญฉลาดและระบบอัตโนมัติของโครงข่าย โครงการนี้มีเป้าหมายผลักดันการเปลี่ยนผ่านของเอไอเอส จากผู้ให้บริการโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม สู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยความชาญฉลาด
ในอนาคตข้างหน้า เอไอเอสจะยังคงมุ่งพัฒนาความเสถียรและประสิทธิภาพของโครงข่ายหลัก พร้อมทั้งผสานเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรม เช่น AI เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยเอไอเอสมีแผนพัฒนาระบบดิจิทัลทวินข้ามโดเมน และนำ Telecom Foundation Model มาใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติการและบำรุงรักษา เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการให้บริการไร้การขัดข้อง และก้าวไปสู่โครงข่ายอัตโนมัติระดับ 4 อย่างค่อยเป็นค่อยไป
Source : เอไอเอสยกระดับความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของโครงข่ายหลัก มุ่งบรรลุเป้าหมายให้บริการไร้การขัดข้อง
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.