รีโอเดจาเนโร, 25 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — ในงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นร่วมกันของ G20-COP28 ว่าด้วยการเงินเพื่อความยั่งยืน ในวันนี้บราซิลได้สนับสนุนแถลงการณ์ผู้นำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่าด้วยกรอบการทำงานการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศระดับโลก (UAE Declaration of Leaders on a Global Climate Finance Framework) ออกโดยผู้นำรายสำคัญของโลกที่การประชุม COP28 ซึ่งสร้างกระแสแนวโน้มสู่เป้าหมายของกรอบการทำงานในการพัฒนาสถาปัตยกรรมการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศใหม่ ที่ปลดล็อกโอกาสการลงทุนในการลงมือด้านสภาพภูมิอากาศ
การสนับสนุนจากบราซิล ซึ่งจะเป็นผู้จัด COP30 ในปี 2568 ทำให้เกิดความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเป้าหมายของฝ่ายประธานสมัชชาภาคีอนุสัญญา COP กับ G20 เพื่อทำให้การเงินเพื่อความยั่งยืนมีการดำเนินงานมากขึ้น เข้าถึงได้มากขึ้น และมีต้นทุนที่แบกรับได้มากขึ้น
รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง Fernando Haddad ประกาศการสนับสนุนครั้งนี้ในกรุงรีโอเดจาเนโรในวันนี้ โดยเป็นส่วนเสริมของการประชุมรัฐมนตรีการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G20 ในการนี้ บราซิลเป็นประเทศ G20 ประเทศที่หกที่สนับสนุนกรอบการทำงานดังกล่าวนี้ ร่วมกับฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอินเดีย
จนถึงปัจจุบัน 15 ประเทศที่มีส่วนแบ่งขนาดใหญ่ในจีดีพีโลกได้เข้าร่วมกรอบการทำงานนี้ในฐานะผู้ลงนาม
การสนับสนุนของบราซิลยังจะทำให้แน่ใจว่าจะมีความต่อเนื่องมากขึ้นใน COPs ในอนาคต ฝ่ายประธานทั้งสามของ COP (COP Presidencies Troika) ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาเซอร์ไบจาน และบราซิล ได้เดินหน้ายกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปิดช่องว่างการระดมทุนสำหรับสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยกระดับความทะเยอทะยานในรอบต่อไปของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions หรือ NCDs)
“เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ระบุในฉันทามติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE Consensus) เราจำเป็นต้องมีแหล่งการระดมทุนทุกประเภท ทั้งสาธารณะ เอกชน และการกุศล” His Excellency Mohamed Al Hussaini รัฐมนตรีการคลังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าว “การลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศจะต้องถือว่าเป็นโอกาสอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งร่วมกัน กรอบการทำงานการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศระดับโลกของ COP28 มอบหมายให้รัฐมนตรีการคลังมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนสิ่งนี้ไปข้างหน้า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พร้อมที่จะจัดการกับช่องว่างด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนด้วยการลงมือทำที่เป็นรูปธรรม
“เรายินดีสำหรับการสนับสนุนกรอบการทำงานโดยบราซิลในวันนี้ การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้แน่ใจว่าความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นใน COP28 นอกจากจะได้รับการค้ำจุนโดยบราซิลผ่านเป้าหมายที่ทะเยอทะยานว่าด้วยการเงินเพื่อความยั่งยืนระหว่างดำรงตำแหน่งประธาน G20 ยิ่งไปกว่านั้นยังจะได้รับการสานต่อผ่านบทบาทของบราซิลในฐานะเจ้าภาพ COP30 ในปี 2568 อีกด้วย”
“เป้าหมายด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนของเราใน G20 มุ่งเน้นการผลักดันการปฏิรูปสถาปัตยกรรมการเงินโลกเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในโลก อีกทั้งยังสอดคล้องเป็นอย่างดีกับกรอบการทำงานการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศระดับโลก เราเล็งเห็นคุณค่าอย่างมากในการส่งเสริมความสอดคล้องระหว่างผลงานด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนของ G20 กับ COP” เอกอัครราชทูต Tatiana Rosito ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศประจำกระทรวงการคลังของบราซิล และผู้ประสานงานสายการเงินของ G20 กล่าว
“กรอบการทำงานการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศระดับโลกนำเสนอความพยายามที่ครอบคลุมแบบองค์รวมเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปลดล็อกการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต้องมีเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นปัจจัยส่งเสริมสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ NCDs รอบต่อไป ตลอดจนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงยืดหยุ่นในการตั้งรับปรับตัว” คุณ Majid Al Suwaidi ผู้อำนวยการใหญ่ของ COP28 กล่าว
“ในฐานะแชมเปียนแห่งโลกใต้ การสนับสนุนกรอบการทำงานดังกล่าวนี้โดยบราซิลจะทำให้เกิดความสอดคล้องมากขึ้นระหว่างเป้าหมายการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ทะเยอทะยานของฝ่ายประธาน G20 อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างความต่อเนื่องในการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศจากบากูสู่เบเล็งและนอกเหนือจากนั้น”
กรอบการทำงานการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศระดับโลก สานต่อจากกระแสแนวโน้มของโครงการริเริ่มอย่าง Bridgetown Agenda ที่สนับสนุนโดย Hon. Mia Mottley และการประชุมสุดยอดแอฟริกาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ (Africa Climate Summit) ที่สนับสนุนโดยประธานาธิบดี Ruto ทั้งนี้ กรอบการทำงานนี้มอบแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งในการวัดความก้าวหน้าที่บรรลุโดยตัวแสดงที่สำคัญทั้งหมดในด้านการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี (MDB) และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFI)
กรอบการทำงานดังกล่าวนี้มอบหลักการที่กำหนดนิยาม 10 ประการ ครอบคลุมทุกด้านสำหรับการลงมือทำในเป้าหมายทางการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปฏิรูป MDB และ IFI การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มระดับประเทศ ตลอดจนการบรรลุพันธกิจที่มีอยู่ อย่างเช่น การระดมทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และการเติมกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund)
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.