• โครงการริเริ่มของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum หรือ WEF) ที่มีชื่อว่า ‘การเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม’ (Transitioning Industrial Clusters) ภายใต้การทำงานร่วมกับ Accenture และ EPRI มุ่งที่จะยกระดับความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
  • AM Green Kakinada Cluster จะเริ่มดำเนินงานเป็นคลัสเตอร์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ระดับโลกแห่งแรกในประเภทนี้ที่เริ่มต้นด้วยการผลิตแอมโมเนียสีเขียว 1 ล้านตันต่อปี (MTPA) อีกทั้งยังสานต่อความพยายามที่จะมีการผลิตโมเลกุลสีเขียวและเชื้อเพลิงสีเขียว
  • คลัสเตอร์ดังกล่าวนี้ซึ่งมีเงินลงทุนมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานโดยตรงและโดยอ้อมรวมกว่า 10,000 ตำแหน่ง

ไฮเดอราบัด อินเดีย และเจนีวา, 19 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — AM Green Kakinada Cluster เข้าร่วมกับโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก ที่มุ่งยกระดับความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

Ammonia Production Facility and Port Infrastructure on the East Coast of India
Ammonia Production Facility and Port Infrastructure on the East Coast of India

ด้วยการเข้าร่วมโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก AM Green Kakinada Cluster มุ่งที่จะสื่อสารอย่างหนักแน่นชัดเจน เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางร่วมมือกันในการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมระดับโลกและสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมสีเขียวที่มีการบูรณาการ ซึ่งจะเพิ่มผลลัพธ์สูงสุดทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในอินเดีย

ด้วยเงินลงทุนตั้งต้นมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คลัสเตอร์ดังกล่าวนี้คาดว่าจะสร้างงานโดยตรงและโดยอ้อมมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างการก่อสร้าง การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ และที่อยู่อาศัย

ในการประกาศครั้งนี้ ประธาน AM Green คุณ Anil Chalamalasetty กล่าวว่า “โซลูชันการลดคาร์บอนระดับโลกในระดับปริมาณมากและอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน เพื่อทำให้วิสัยทัศน์ใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานระดับโลกกลายเป็นจริงขึ้นมา เราเชื่อว่านี่เป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมและเป็นความท้าทายที่เราจัดการรับมืออย่างไม่ลดละมาตลอดหลายปี”

“เราตั้งตารอที่จะมีส่วนร่วมกับโครงการริเริ่มของสภาเศรษฐกิจโลก และที่จะได้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านของคลัสเตอร์ นอกจากนี้ ในฐานะสมาชิกของโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม AM Green Kakinada Cluster จะมุ่งสนับสนุนการทำงานระดับโลกในการลดการปล่อยคาร์บอนในคลัสเตอร์อุตสาหกรรม และรอที่จะได้นำเสนอองค์ความรู้และการทำงานพัฒนาของบริษัทกับสภาฯ ตลอดจนรับเอาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากคลัสเตอร์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมในการประชุม” คุณ Chalamalasetty กล่าวเสริม

“เรายินดีที่ได้ต้อนรับ AM Green Kakinada Cluster เข้าสู่เครือข่ายระดับโลกของเราที่ประกอบด้วย 25 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของอินเดีย ทั้งนี้ ด้วยทรัพยากรหมุนเวียนในอานธรประเทศ Kakinada Cluster มีศักยภาพที่จะพัฒนาส่งเสริมการผลิตแอมโมเนียและไฮโดรเจนสีเขียวในระดับภูมิภาค ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม AM Green Kakinada จะมีโอกาสได้นำเสนอมุมมองเชิงลึกและมีบทบาทในความก้าวหน้าจากการร่วมมือในการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม” คุณ Roberto Bocca หัวหน้าศูนย์พลังงานและวัสดุ และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร กล่าว ณ สภาเศรษฐกิจโลก

การลงทุนในระบบนิเวศต้นน้ำโดยรวมราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของคลัสเตอร์ในกากินาดาแห่งนี้ ยิ่งไปกว่านั้น คาดว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเริ่มเปิดดำเนินงานในปี 2569 จะอยู่ที่ 0 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e)

คลัสเตอร์ในกากินาดาแห่งนี้จะเริ่มด้วยกำลังผลิตแอมโมเนียสีเขียว 1 ล้านตันต่อปี โดยประกอบด้วยโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยอิเล็กโทรไลเซอร์ขนาด 2 กิกะวัตต์ (GW) และสถานผลิตโมเลกุลสีเขียวชนิดอื่น ๆ เพื่อให้มีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์

คลัสเตอร์แห่งนี้จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานปลอดคาร์บอนตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยโครงการกักเก็บพลังงานแบบสูบกลับ และจะมีสาธารณูปโภคแบบบูรณาการ รวมถึงไอน้ำสีเขียว น้ำกลั่นจากน้ำทะเล และโรงบำบัดน้ำเสีย

AM Green มุ่งที่จะมอบโซลูชันลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมระดับโลกด้วยคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสีเขียวที่สำคัญแห่งนี้ในเมืองกากินาดา รัฐอานธรประเทศ วางตำแหน่งอินเดียเป็นผู้เล่นรายหลักในความพยายามลดคาร์บอนและเปลี่ยนผ่านทางพลังงานระดับโลก คลัสเตอร์แห่งนี้จะเป็นสถานประกอบการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยผลิตโมเลกุลสีเขียวที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน อย่างเช่น แอมโมเนียสีเขียว ไฮโดรเจนสีเขียว เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน โอเลฟินส์สีเขียว และอื่น ๆ

AM Green กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มแอมโมเนียสีเขียวที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยจะมีกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573 สนับสนุนความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งในอินเดียและในกลุ่มประเทศ OECD ผลผลิตเช่นนี้จะเทียบเท่ากับไฮโดรเจนสีเขียวราว 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งในห้าของเป้าหมายการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวของอินเดียภายใต้ภารกิจไฮโดรเจนสีเขียวแห่งชาติ และเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายการนำเข้าไฮโดรเจนสีเขียวของยุโรป นอกจากนี้ AM Green อยู่ระหว่างการพัฒนาสมรรถภาพการผลิตสำหรับโมเลกุลสีเขียวอื่น ๆ อย่างเช่น โซดาไฟ อีเมทานอล โอเลฟินส์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมที่ลดได้ยาก

เกี่ยวกับ AM Green Group

AM Green ก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทโดยผู้ก่อตั้ง Greenko Group จากไฮเดอราบัด Anil Chalamalasetty และ Mahesh Kolli เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานชั้นนำของอินเดีย AM Green ใช้ประโยชน์จากประวัติผลงานการประกอบการในการบุกเบิกพลังงานใหม่และหนทางใหม่ในการกำหนดสร้างอนาคตของพลังงาน เรามุ่งที่จะก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฮโดรเจนสีเขียว แอมโมเนียสีเขียว และโมเลกุลสีเขียวอื่น ๆ ที่แข่งขันได้ในด้านต้นทุนมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในอินเดีย AM Green กำลังพัฒนาสมรรถภาพการผลิตโมเลกุลสีเขียว (ไฮโดรเจนสีเขียว แอมโมเนียสีเขียว เชื้อเพลิงชีวภาพ อีเมทานอล เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน และสารเคมีปลายน้ำมูลค่าสูงหลากหลายชนิด) เพื่อการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมที่ลดได้ยาก กิจการดังกล่าวนี้ยังจะตั้งธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและการกักเก็บพลังงานระดับสากล และตั้งกิจการร่วมค้าสำหรับผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ ร่วมกับ John Cockerill จากเบลเยียม

www.amgreen.com

เกี่ยวกับโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก

โครงการริเริ่มดังกล่าวนี้มุ่งที่จะปลดล็อกศักยภาพของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้แนวทางแบบมีโครงสร้างในด้านการจัดหาเงินทุน นโยบาย เทคโนโลยี และการร่วมมือ อีกทั้งยังบูรณาการแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากคลัสเตอร์ที่ทุ่มเทจริงจัง โครงการริเริ่มนี้เสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โครงการริเริ่มดังกล่าวนี้ก่อตั้งในการประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 4 แห่ง และขณะนี้ได้ขยายสู่ 25 คลัสเตอร์ในปัจจุบัน (21 แห่งตั้งอยู่ที่ท่าเรือ) ใน 12 ประเทศใน 4 ทวีป โดยมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 60 ราย

https://initiatives.weforum.org/transitioning-industrial-clusters/clusters 

ติดต่อ
Suheil Imtiaz 
ฝ่ายกิจการสาธารณะและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
AM Green
+ 91 94401 59289
suheil.m@amgreen.com   

รูปภาพ: https://mma.prnasia.com/media2/2560337/AM_Green_Facility_Infra.jpg?p=medium600
โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/2490224/AM_GREEN_Logo.jpg?p=medium600

 

Source : AM Green Kakinada Cluster: คลัสเตอร์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แห่งแรกของโลก เข้าร่วมโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.