• ดัชนีเมืองยั่งยืนประจำปี 2567 ของ Arcadis เผยให้เห็นความแตกต่างอย่างมีสำคัญในแง่ความก้าวหน้าด้านความยั่งยืน ในขณะที่เมืองต่าง ๆ เร่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ปี 2573
  • อัมสเตอร์ดัมครองแชมป์เมืองที่ยั่งยืนที่สุด อันเนื่องมาจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม และการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
  • มุ่งรักษาระดับความคืบหน้า เมื่อกำหนดเวลาตามเป้าหมาย SDG ใกล้เข้ามา พร้อมโอกาสที่แม้แต่เมืองอันดับต้น ๆ ก็เร่งเป้าหมายความยั่งยืนได้

อัมสเตอร์ดัม, 12 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ — Arcadis ได้เผยแพร่ดัชนีเมืองยั่งยืน (Sustainable Cities Index) ประจำปี 2567 พร้อมเชิญชวนให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเร่งดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาท้าทายอื่น ๆ ด้านความยั่งยืน

Top 20 most sustainable cities in the Arcadis Sustainable Cities Index 2024
Top 20 most sustainable cities in the Arcadis Sustainable Cities Index 2024

การเผยแพร่รายงานดังกล่าวมีขึ้น เมื่อประเทศต่าง ๆ มีเวลาไม่ถึง 2,000 วันก่อนที่จะถึงกำหนดเวลาปี 2573 เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG ของสหประชาชาติ รายงานดังกล่าวเผยให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเมืองอันดับต้น ๆ เช่น อัมสเตอร์ดัม (อันดับ 1), โคเปนเฮเกน (อันดับ 3) และมิวนิก (อันดับ 5) กับเมืองอันดับหลัง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองในสหรัฐและเอเชีย เช่น นิวยอร์ก (อันดับที่ 48), บอสตัน (อันดับที่ 56) และไทเป (อันดับที่ 62)

ดัชนีเมืองยั่งยืนของ Arcadis จัดอันดับเมืองต่าง ๆ รวม 100 เมือง โดยใช้เกณฑ์ความยั่งยืน 3 เสาหลักสำคัญด้วยกัน ได้แก่ Planet (โลก), People (ผู้คน) และ Profit (กำไร) รายงานฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ 6 แล้วนับตั้งแต่เริ่มจัดทำในปี 2558 ประเมินตามตัวชี้วัด 67 รายการ ที่ชูให้เห็นความเข้าใจของเราในเรื่องความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคาร์บอนต่ำ (รวมถึงพลังงานทดแทนและการขนส่งที่ยั่งยืน) เช่นเดียวกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม และการฟื้นตัวจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับปีนี้ Arcadis ได้เพิ่มเสาหลักที่ 4 อย่าง ‘Progress’ หรือ ‘ความคืบหน้า’ เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้แสดงให้เห็นผลกระทบของการแทรกแซงเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาควบคู่ไปกับเสาหลักอื่น ๆ แล้ว ก็จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของเมืองนั้น

ในภาพรวมนั้น เมืองต่าง ๆ ในยุโรปกวาดอันดับต้น ๆ ในดัชนีนี้ไปได้ โดยเมืองเยอรมนีทั้ง 4 เมืองที่รวมอยู่ในรายงานนี้ ได้แก่ แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก ฮัมบูร์ก และเบอร์ลิน ล้วนติด 10 อันดับแรก โดยได้แรงหนุนจากความสำเร็จในด้านสุขาภิบาลน้ำและการจัดการขยะ ทั้งยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

การทำผลงานให้ยอดเยี่ยมในเสาหลัก Planet นั้นสัมพันธ์กับความสำเร็จโดยรวม โดยเมือง 8 แห่งจาก 10 อันดับแรกในการจัดอันดับสาขา Planet ก็ปรากฏใน 10 อันดับแรกในการจัดอันดับรวมด้วยเช่นกัน เสาหลัก Planet ประกอบด้วยตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น ระบบพลังงานที่ยั่งยืน และการขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของเมือง

ดัชนีประจำปีนี้ยังเน้นย้ำให้เห็นว่า การทำผลงานให้ยอดเยี่ยมในเสาหลัก Profit นั้นไม่จำเป็นต้องแลกกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเสมอไป รายงานฉบับนี้เน้นย้ำว่าเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองควรสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งพลังงานทางเลือก โครงการริเริ่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และโครงการทางสังคมอย่างไรบ้าง โดยเมืองที่ยั่งยืนที่สุดในปี 2567 อย่างอัมสเตอร์ดัมก็อยู่หัวตารางของเสาหลัก Profit และเป็นเลิศทั้งในด้านมาตรฐานรายได้และความเป็นอยู่ การจ้างงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง

เมืองต่าง ๆ ในอเมริกาเหนือทำผลงานได้ดีในส่วนของ Profit โดยซานฟรานซิสโก ดัลลัส ชิคาโก ฮูสตัน นิวยอร์ก และซีแอตเทิล ล้วนติด 10 อันดับแรกด้าน Profit อันเป็นผลจากความสะดวกสบายในการทำธุรกิจ, GDP ต่อหัว และอัตราการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม แม้เมืองเหล่านี้จะมีความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ระดับค่าจ้างและมาตรฐานการครองชีพกลับไม่เป็นไปตามกัน การก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจะต้องอาศัยกลยุทธ์การพัฒนาที่ครอบคลุมทางสังคม และเมืองต่าง ๆ ในอเมริกาเหนือและยุโรปจะต้องหาแรงบันดาลใจระหว่างกันเพื่อให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้

เมื่อว่ากันในเรื่องความก้าวหน้าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น หลาย ๆ เมืองในยุโรปได้ก้าวหน้าอย่างมากในการรักษาสถานะของตนให้อยู่ในอันดับสูงสุดของดัชนี แม้จะมีจุดเริ่มต้นที่ยั่งยืนอยู่แล้ว เมืองต่าง ๆ เช่น อัมสเตอร์ดัม ร็อตเตอร์ดัม วอร์ซอ โคเปนเฮเกน แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิค ฮัมบูร์ก และเบอร์ลิน ล้วนติดหนึ่งในสามส่วนแรกของเสาหลักด้าน Progress และหนึ่งในสามส่วนแรกของดัชนีรวม เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นในการผลิตพลังงานหมุนเวียน รวมถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การมีส่วนร่วมของแรงงานหญิงและการดูแลสุขภาพ

แม้อันดับโดยรวมจะไม่สูงนัก แต่การที่เมืองในเอเชียอย่างจาการ์ตา อู่ฮั่น และเซี่ยงไฮ้ ครองอันดับบน ๆ ในเสาหลักด้าน Progress แสดงให้เห็นว่า สำหรับเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนค่อนข้างจำกัดมาก่อน การริเริ่มดำเนินการในระยะแรกก็สร้างผลกระทบได้อย่างมหาศาลในการสร้างแรงขับเคลื่อน

John Batten ผู้อำนวยการโครงการ Arcadis Global Cities กล่าวว่า

“เมืองมีบทบาทสำคัญในการผลักดันวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี การประเมินความก้าวหน้าของเราแสดงให้เห็นว่ายังมีเรื่องให้ลงมือทำอีกมาก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทันตามกำหนดเวลา เมื่อเหลือเวลาเพียง 2,000 วัน ความท้าทายก็อยู่ที่การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขยับขยายโครงการริเริ่มด้านพลังงานหมุนเวียน การนำประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศมารวมไว้ในการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบคมนาคมผ่านการบริหารจัดการจราจรอัจฉริยะ หรือจะสนับสนุนการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิม เราล้วนมีเรื่องให้ต้องพัฒนาอยู่เสมอ เมื่อปี 2573 ใกล้เข้ามา เมืองต่าง ๆ จำเป็นต้องนำความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาต่อยอด สำรวจพื้นที่ในการพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ”

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

เกี่ยวกับ Arcadis 

รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2435696/Arcadis_Sustainable_Index.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1838726/Arcadis_Logo.jpg?p=medium600

 

Source : Arcadis เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ เตือน "เมืองต่าง ๆ มีเวลาเหลือเพียง 2,000 วันในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่สำคัญ"

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.