ปักกิ่ง 27 กันยายน 2567 /PRNewswire/ — Fan Zaixuan ผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะจิตรกรรมฝาผนัง ยังคงจดจำช่วงเวลาที่เขามาถึงถ้ำมั่วเกาครั้งแรกในเมืองตุนหวงในคืนวันที่ 31 มีนาคม 2524 ได้อย่างชัดเจน

“ผมได้ยินเพียงเสียงกระดิ่งลมจากตึกเก้าชั้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเสียงที่ลึกลับมาก และทำให้ผมตื่นเต้นจนนอนไม่หลับทั้งคืน”

ถ้ำมั่วเกาเป็นแหล่งศิลปะถ้ำพุทธที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในโลก โดยประกอบด้วยถ้ำต่างๆ ถึง 735 ถ้ำที่ทอดยาวบนหน้าผาถึง 1,700 เมตร โดยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังมากกว่า 45,000 ตารางเมตร และประติมากรรมหลากสีสันมากกว่า 2,000 ชิ้น

ปัจจุบัน Fan มีอายุได้ 60 กว่าปีแล้ว และได้ทำงานบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกามานานกว่า 40 ปี “ถ้านับจนถึงตอนนี้ ผมได้บูรณะพื้นที่มากมาย ซึ่งน่าจะเทียบเท่ากับถ้ำขนาดใหญ่ในถ้ำมั่วเกาได้” เขาบอกกับ CGTN

Fan รู้ดีกว่าใครว่า การบูรณะงานศิลปะโบราณต้องอาศัยการทำงานอย่างต่อเนื่องและพิถีพิถันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเขาได้พัฒนาทักษะของเขาผ่านความช่วยเหลือจากนักอนุรักษ์รุ่นก่อนหน้า เช่น Li Yunhe ที่มีอายุได้ 100 กว่าปีแล้ว

Li เป็นผู้บูรณะมรดกทางวัฒนธรรมเต็มเวลาคนแรกของสถาบันตุนหวง และเขาได้อุทิศตนให้งานนี้มาตั้งแต่ปี 2500

ในปัจจุบัน Fan ที่อยู่ในฐานะอาจารย์ ก็ได้การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเหล่าลูกศิษย์ของเขา โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะสืบสาน “จิตวิญญาณแห่งมั่วเกา” ต่อไป

Dai Chuan หนึ่งในลูกศิษย์ของ Fan เป็นผู้ที่เกิดอยู่ในช่วงปี 2533 ทว่าเขาได้ใช้เวลากว่าทศวรรษเพื่อทำงานปกป้องภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำมั่วเกา “ผมเต็มใจที่จะอุทิศชีวิตของผมเพื่อสืบสานวัฒนธรรมของตุนหวงเช่นกัน” Dai กล่าวด้วยความมุ่งมั่น

ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ได้ไปเยือนถ้ำมั่วเกา ในฐานะจุดแวะแรกของการเดินทางตรวจสอบที่มณฑลกานซู่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อเดือนสิงหาคม 2562

ที่ซึ่งเขาได้ชื่นชมวัฒนธรรมตุนหวงว่าเป็น “ไข่มุกอันเจิดจรัสในสายน้ำอันยาวไกลของอารยธรรมโลก ทั้งยังเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าสำหรับการศึกษาด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม และศิลปะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในยุคจีนโบราณ”

ในช่วงปลายปี 2565 สถาบันได้รวบรวมข้อมูลดิจิทัลของถ้ำ 278 แห่ง ประมวลผลภาพถ้ำ 164 แห่ง และสร้างสามมิติของประติมากรรมทาสี 145 ชิ้น และซากปรักหักพัง 7 แห่งขึ้นใหม่ พร้อมทั้งจัดทำโปรแกรมทัวร์ชมถ้ำ 162 แห่งแบบพาโนรามา

“อนุรักษ์รากเหง้าของตน”

สุภาษิตจีนโบราณกล่าวไว้ว่า “สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมีกฎเกณฑ์ของการอยู่รอดและการพัฒนา แต่สรรพสิ่งก็ล้วนรู้จักวิธีรักษารากเหง้าของตน”

ประธานาธิบดี Xi ได้ตอกย้ำถึงความรู้สึกนี้ และมักจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมอยู่เสมอ เขาเชื่อว่าความยั่งยืนของอารยธรรมจีนเป็นผลมาจากความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับรากเหง้าของจีน “อารยธรรมจีนจึงเจริญเติบโตและเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเราไม่เคยลืมรากเหง้าของเรา”

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ยกระดับระบบและนโยบายเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมขึ้นอย่างมาก

ในช่วงปลายปี 2564 จีนมีโบราณวัตถุที่เคลื่อนย้ายได้ที่เป็นสมบัติของรัฐถึง 108 ล้านชุด และโบราณวัตถุที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ประมาณ 767,000 ชุด

ในปัจจุบัน ประเทศจีนมีแหล่งมรดกโลกของ UNESCO ถึง 59 แห่ง และจัดอยู่ในอันดับสองของโลก ทั้งยังมี 43 รายการที่อยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO ซึ่งทำให้จีนเป็นประเทศที่มีรายการมรดกโลกมากที่สุด

Alliance for Cultural Heritage in Asia (ACHA) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2566 โดยประเทศจีนและมีประเทศในเอเชียอีกกว่า 20 ประเทศมาเข้าร่วม เพื่อให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเอเชีย การสืบทอด และการพัฒนาอารยธรรมเอเชียในรูปแบบต่างๆ

ประเทศจีนได้มีส่วนร่วมในโครงการโบราณคดีร่วม 33 โครงการใน 19 ประเทศในเอเชีย และมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานประวัติศาสตร์ 11 แห่งใน 6 ประเทศในเอเชีย ภายใต้กรอบการทำงานของ ACHA

ทั้งนี้การจัดตั้ง ACHA ยังเป็นส่วนสำคัญของโครงการริเริ่ม Global Civilization ที่นำเสนอโดยประธานาธิบดี Xi ซึ่งเรียกร้องให้ผู้คนเคารพความหลากหลายของอารยธรรม สนับสนุนคุณค่าร่วมกันของมนุษยชาติ ให้คุณค่ากับการสืบทอดและการพัฒนาด้านอารยธรรม พร้อมกับส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในหมู่ประชาชนระหว่างประเทศ

ในตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนยังคงมุ่งมั่นและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมให้อารยธรรมต่างๆ ทั่วโลกอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ทั้งยังได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวกับ 157 ประเทศอีกด้วย

https://news.cgtn.com/news/2024-09-23/What-is-China-doing-to-preserve-pass-on-and-share-its-culture–1x87ZjqBig0/p.html

Source : CGTN: จีนได้ดำเนินการอะไรเพื่อรักษา ส่งต่อ และแบ่งปันวัฒนธรรมจีนบ้าง

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.