ปักกิ่ง 17 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนได้จัดแสดงคอลเลกชันพิเศษของตราประทับทางการ 109 ดวง โดยตราประทับดังกล่าวมาจากเขตใหม่ปิงไห่ในนครเทียนจิน ซึ่งได้ถูกยกเลิกในปี 2557 หลังจากที่รัฐบาลท้องถิ่นได้จัดตั้งสำนักตรวจสอบและอนุมัติการบริหาร พร้อมกับรวมหน่วยตรวจสอบและอนุมัติหลายร้อยหน่วยไว้ในแผนกเดียว และได้แทนที่ตราประทับทางการ 109 ดวงด้วยตราประทับทางการเพียงดวงเดียว
ในปี 2557 การทำธุรกิจยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย แม้ว่าแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยมจะถูกนำเสนอมามากกว่าสองทศวรรษก่อนหน้านี้ ผู้บัญญัติกฎหมายจากสภาประชาชนนครเทียนจินเปิดเผยว่า โครงการลงทุนหนึ่งโครงการ ตั้งแต่การจัดหาที่ดินไปจนถึงการดำเนินการตามขั้นตอนการอนุมัติด้านการบริหารทั้งหมด จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกว่า 30 รายการ และตราประทับกว่า 100 ตรา ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง 272 วันทำการ
ตราประทับทั้ง 109 ดวงที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้แสดงถึงความมุ่งมั่นของจีนในการปฏิรูปสถาบันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยในตลอดหลายปีที่ผ่านมา สภาแห่งรัฐของจีนได้ยกเลิก หรือมอบอำนาจการอนุมัติด้านปกครองกว่า 1,000 รายการให้กับหน่วยงานระดับล่าง และลดจำนวนรายการลงทุนที่ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลางลงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจ
เหตุใดการปฏิรูปเชิงลึกจึงมีความสำคัญยิ่ง
จีนได้เริ่มต้นการปฏิรูปและเปิดประเทศในปี 2521 ซึ่งในตลอด 46 ปีที่ผ่านมา จีนได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ยากจนและด้อยพัฒนาเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
“การปฏิรูปและการเปิดประเทศเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้จีนสามารถก้าวทันยุคสมัยได้” ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน กล่าวในการประชุมสัมมนาในปี 2566 เขากล่าวเสริมว่า “เราจะต้องดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ปลดปล่อยและพัฒนาพลังการผลิตทางสังคมอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับส่งเสริมพลังทางสังคมเพื่อช่วยให้จีนมีความทันสมัย”
จีนได้เริ่มการประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ชุดที่ 20 ของจีน ณ กรุงปักกิ่งในวันจันทร์ โดยการประชุมดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปเชิงลึกอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น และการยกระดับจีนให้มีความทันสมัย
Wang Chunguang นักวิจัยจาก Chinese Academy of Social Sciences กล่าวว่า จีนได้เข้าสู่เขต “น้ำลึก” ในกระบวนการปฏิรูป ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับงานอันเร่งด่วนและซับซ้อนยิ่งกว่าก่อน เช่น ประสิทธิภาพที่ลดลงของการปฏิรูปครั้งก่อนๆ เส้นทางของการปฏิรูปในอนาคตที่ไม่ชัดเจน และการเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งหากล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความท้าทายต่างๆ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองผ่านการปฏิรูปเพิ่มเติมแล้ว การยกระดับจีนให้มีความทันสมัยจะถูกจำกัดอย่างมาก
Fan Weiqing รองศาสตราจารย์จาก Wuhan University กล่าวว่าในขณะที่การปฏิวัติเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการพลิกโฉมทางอุตสาหกรรมรอบใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก และการแข่งขันด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์เริ่มรุนแรงขึ้น การปฏิรูปที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจึงมีความสำคัญยิ่งต่อนวัตกรรมเทคโนโลยีของจีน ซึ่งเป็น “ปัจจัยที่ชี้ขาด” อนาคตของประเทศ
“เราจำเป็นต้องปรับปรุงการปฏิรูป และการเปิดประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง และความท้าทายหลักต่อการพัฒนาขั้นต่อไปของจีน” Xi กล่าว โดยเขาได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากที่เขาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2555 เป็นเวลาหนึ่งปี รัฐบาลกลางได้มีมติให้ดำเนินการปฏิรูปเชิงลึกอย่างครอบคลุม โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุง และพัฒนาระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน พร้อมกับปรับปรุงระบบการปกครองของจีน และยกระดับขีดความสามารถให้ก้าวทันยุคสมัย
ประเทศจีนจะปฏิรูปเชิงลึกได้อย่างไร
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้นำของจีนได้วางแนวทางสำหรับการปฏิรูปโดยรวมอย่างลึกซึ้ง และจีนยังได้เผยแพร่แผนการปฏิรูปกว่า 3,000 แผน ครอบคลุมการปฏิรูปสถาบันของพรรคและรัฐ การปฏิรูปที่ดินในชนบท การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงสีเขียว และการปฏิรูประบบการแพทย์
โดยให้ความสนใจหลักอยู่ที่การปฏิรูปเศรษฐกิจ Xi ได้สนับสนุนให้ตลาดมีบทบาท “สำคัญ” ในการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนของการปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยแทนที่คำว่า “พื้นฐาน” ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการครั้งก่อนด้วยคำว่า “สำคัญ”
จีนได้จัดตั้งสำนักพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนเพื่อช่วยเหลือองค์กรเอกชน ส่งเสริมการปฏิรูปทางการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเงินสำหรับวิสาหกิจองค์กรภายใต้คำสั่งของ Xi และได้ดำเนินการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจขั้นสูง (SOE) เพื่อปรับปรุงระบบองค์กรให้มีความทันสมัย พร้อมกับปรับใช้ระบบรายการระงับลงทุนสำหรับการเข้าถึงตลาด ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงตลาดในภาคส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรายการระงับลงทุนได้
การปฏิรูปดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม โดยแผนปฏิบัติการระยะเวลา 3 ปีสำหรับการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (2563-2565) ได้พลิกโฉมรัฐวิสาหกิจ (SOE) กว่า 165,000 แห่งให้เป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทเอกชนจำกัดโดยหุ้น และมีรัฐวิสาหกิจประมาณ 38,000 แห่งที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2566 จำนวนองค์กรเอกชนในจีนได้เพิ่มจำนวนขึ้นกว่าสี่เท่า และจำนวนองค์กรเอกชนได้เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นมากกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับสัดส่วนของจำนวนองค์กรทั้งหมด
รายงานของธนาคารโลกที่เผยแพร่ในปี 2563 ได้ระบุว่า การปฏิรูปที่มั่นคงและแข็งแกร่งได้ช่วยให้จีนมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนักปฏิรูป 10 อันดับแรกของโลกเป็นเวลาสองปีซ้อน
Source : CGTN: เหตุใดการปฏิรูปเชิงลึกจึงมีความสำคัญยิ่งต่อประเทศจีน
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.