บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์, 15 พฤษภาคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — งานวิจัยชิ้นใหม่ที่นำเสนอในการประชุมองค์กรโรคหลอดเลือดสมองแห่งยุโรป (European Stroke Organisation Conference: ESOC) ครั้งที่ 10 ประจำปี 2567 เปิดเผยว่าบุคคลที่มีรายได้สูงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลง 32% นอกจากนี้ ผู้ที่มีการศึกษาสูงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลง 26% เป็นการเน้นให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนในการรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองโดยพิจารณาจากปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพที่สำคัญ (Social Determinants of Health: SDoH)

การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 6,901 รายในเมืองโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2562 เพื่อตรวจสอบผลกระทบของปัจจัย SDoH ต่อความเสี่ยงการเสียชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษามุ่งเน้นไปที่ปัจจัย 4 ข้อ ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย ประเทศที่เกิด การศึกษา และรายได้

นอกจากการระบุความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างรายได้ ระดับการศึกษา และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว การศึกษายังเผยให้เห็นแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบสะสมของปัจจัย SDoH โดยผู้ป่วยที่มีปัจจัยไม่เอื้ออำนวยหนึ่งข้อมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้น 18% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยไม่เอื้ออำนวยใด ๆ ความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นเป็น 24% เมื่อผู้ป่วยมีปัจจัยไม่เอื้ออำนวยสองถึงสี่ข้อ

ผู้ประพันธ์อันดับแรก ศาสตราจารย์ Katharina Stibrant Sunnerhagen จากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก แผนกประสาทวิทยาทางคลินิก เมืองโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ให้ความเห็นว่า “การค้นพบของเราตอกย้ำความเป็นจริงที่ชัดเจนว่าสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละบุคคลอาจเป็นเรื่องของความเป็นความตายในบริบทของโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาต้องเผชิญกับปัจจัย SDoH ที่ไม่เอื้ออำนวยหลายข้อ”

ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบความเชื่อมโยงระหว่างความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น การไม่ออกกำลังกาย โรคเบาหวาน การดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด และภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่ามีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงเมื่อตรวจสอบลักษณะผู้ป่วยในกลุ่มการศึกษา สัดส่วนของผู้ป่วยหญิงเพิ่มขึ้นตามจำนวนปัจจัย SDoH ที่ไม่เอื้ออำนวย โดย 41% ของกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยเป็นผู้หญิง เทียบกับ 59% ของกลุ่มที่มีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยสองถึงสี่ข้อ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะยังสูบในปัจจุบันอยู่หรือสูบในปีที่ผ่านมา พบว่าแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มที่มีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยสองถึงสี่ข้อเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวย (19% เทียบกับ 12%)

ศาสตราจารย์ Stibrant Sunnerhagen กล่าวถึงการดำเนินการที่จำเป็นในการลดภาระโรคหลอดเลือดสมองว่า “จากผลการวิจัยของเรา การดำเนินการแบบมุ่งเป้าถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ผู้กำหนดนโยบายจะต้องออกแบบกฎหมายและแนวทางเพื่อคำนึงถึงสถานการณ์เฉพาะของชุมชนที่หลากหลาย ในขณะที่แพทย์ฝ่ายรักษาควรพิจารณาระบุผู้ป่วยที่มีปัจจัย SDoH ที่ไม่เอื้ออำนวยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง”

“การจัดการกับความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เรามีศักยภาพในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญได้”

Source : ESOC ประจำปี 2567: ผลการศึกษาใหม่เผย รายได้สูงขึ้นลดเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองได้หนึ่งในสาม

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.