พนมเปญ, กัมพูชา, 5 ธ.ค. 2567 /PRNewswire/ — Fair Finance Asia (FFA) ได้เผยแพร่ผลการประเมินใหม่ในรูปแบบสกอร์การ์ด (scorecard) ที่วัดระดับบทบาทของธนาคารในเอเชียในการช่วยผู้บริโภคขับเคลื่อนความยั่งยืน
Fair Finance Asia (2024, December). Empowering Consumers as Drivers of Sustainability in Asia’s Financial Sector.
สกอร์การ์ดใหม่นี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันธนาคารสากล และใช้ชื่อว่า Empowering Consumers as Drivers of Sustainability in Asia’s Financial Sector (เสริมพลังผู้บริโภคในฐานะผู้ขับเคลื่อนความยั่งยืนในภาคการเงินเอเชีย) โดยได้ประเมินนโยบายของธนาคาร 15 แห่งในกัมพูชา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ใน 4 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ การเข้าถึงบริการทางการเงิน การคุ้มครองผู้บริโภค ความรู้และการให้ความรู้ทางการเงิน และกลไกการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ
ผลการประเมินพบว่า ธนาคารมีคะแนนค่อนข้างดีในด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน (5.2/10) และการคุ้มครองผู้บริโภค (5.5/10) แต่กลับได้คะแนนต่ำในด้านกลไกการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ (1.3/10) โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ที่ 3.5/10 ทั้งนี้ FFA ร่วมกับพันธมิตรระดับประเทศ ได้แก่ Fair Finance Cambodia, ResponsiBank Indonesia, Fair Finance Pakistan, Fair Finance Philippines และ Fair Finance Thailand รวมถึงพันธมิตรด้านการวิจัยอย่าง Profundo ได้เชิญชวนให้ธนาคารสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายการเข้าถึงบริการทางการเงินกับการให้ความรู้ทางการเงินและการเสริมพลังผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและแนวปฏิบัติด้านการเงิน รวมทั้งสามารถตรวจสอบการดำเนินการตามพันธสัญญาของธนาคารได้
“ผู้บริโภคในเอเชียมีความคาดหวังเพิ่มขึ้นในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบจากสถาบันการเงิน ธนาคารควรตอบสนองเรื่องนี้ด้วยการให้ความรู้และมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เสริมพลังให้พวกเขาตัดสินใจทางการเงินได้อย่างชาญฉลาดและสอดรับกับค่านิยมของตน และช่วยให้พวกเขาเป็นพันธมิตรในด้านความยั่งยืน” Bernadette Victorio ผู้นำโครงการประจำ Fair Finance Asia กล่าว
“ธนาคารจะขับเคลื่อนความยั่งยืนอย่างมีความหมายได้ ก็ต่อเมื่อเสริมพลังให้ผู้บริโภคด้วยความโปร่งใสและการให้ความรู้ในฐานะพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม” Yut Sakara Phon ผู้ประสานงานประจำ Fair Finance Cambodia กล่าว
“ธนาคารจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ ก็ต่อเมื่อให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะสร้างผลลัพธ์อันดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน” Herni Ramdlaningrum ผู้จัดการโครงการประจำ PRAKARSA กล่าว
“ธนาคารในปากีสถานดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับกำไรมากกว่าจุดประสงค์ที่แท้จริง โดยมักจะโปรโมทผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ไม่ค่อยตระหนักเรื่องผลกระทบต่อบุคคลและสังคม ธนาคารต้องทำมากกว่านี้เพื่อเสริมพลังประชาชนและปกป้องสิ่งแวดล้อม” Asim Jaffry ผู้นำโครงการประจำประเทศ จาก Fair Finance Pakistan กล่าว
“แม้ธนาคารฟิลิปปินส์ในการประเมินนี้จะได้คะแนนสูงสุดในด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความรู้ทางการเงิน และกลไกความรับผิดชอบ แต่ธนาคารฟิลิปปินส์จำเป็นต้องเพิ่มความโปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ให้การสนับสนุนทางการเงิน” ดร. Genalyn G. Aquino-Arcayera ผู้จัดการโครงการ Fair Finance Philippines จากองค์กร Initiatives for Dialogue and Empowerment through Alternative Legal Services (IDEALS) กล่าว
“เป็นเรื่องน่ายินดีที่ธนาคารไทยเป็นผู้นำด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในบรรดาประเทศที่ได้รับการประเมินครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างในด้านนโยบายการป้องกันภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสริมสร้างความรับผิดชอบและความโปร่งใสค่ะ” สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำ Fair Finance Thailand กล่าว
ดูผลประเมินครั้งนี้ได้ที่ http://bit.ly/3Vp0emN
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Kyle Cruz
Knowledge and Communications Manager
Fair Finance Asia
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
เกี่ยวกับ FFA
Fair Finance Asia (FFA) เป็นเครือข่ายระดับภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) ทั่วเอเชียที่มีความมุ่งมั่นในการทำให้มั่นใจว่า สถาบันการเงินจะตัดสินใจให้การสนับสนุนทางการเงินในภูมิภาคโดยคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FFA ได้ที่: https://fairfinanceasia.org/
Source : Fair Finance Asia เผยรายงานใหม่ พบธนาคารเอเชียมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้บริโภคขับเคลื่อนความยั่งยืน
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.