กรุงเทพฯ, 5 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ — QS Quacquarelli Symonds (QS) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก ประกาศเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2025 ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนานาชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเป็นกรอบการจัดอันดับเพียงแห่งเดียวที่ประเมินทั้งความสามารถในการจ้างงานและปัจจัยด้านความยั่งยืน

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS ประจำปี 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงรักษาตำแหน่งสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย แม้ว่าอันดับโลกจะลดลง 18 อันดับ เหลืออันดับที่ 229 ในปีนี้ ขณะที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาอันดับสองของไทย ขยับอันดับขึ้น 15 อันดับในปีนี้ ไปอยู่อันดับที่ 368 ร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ยังคงครองอันดับ 1 เป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน ในขณะที่ อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) รักษาอันดับ 2 ไว้ได้เช่นเดียวกับปี 2014  มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) คว้าอันดับ 3 ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ส่วนมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) รั้งอันดับ 5 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) เป็นสถาบันเดียวที่สามารถเข้ามาอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกในปีนี้ นอกจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาแล้ว สวิตเซอร์แลนด์และสิงคโปร์เป็นเพียง 2 ประเทศที่มีสถาบันอยู่ใน Top 10 โดยมี ETH Zurich และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) อยู่ในอันดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS ปี 2025: 20 อันดับแรก

อันดับปี 2025

อันดับปี 2024

สถาบัน

ประเทศ 

1

1

Massachusetts Institute of Technology (MIT) 

United States 

2

6

Imperial College London 

United Kingdom 

3

3

University of Oxford 

United Kingdom 

4

4

Harvard University

United States

5

2

University of Cambridge 

United Kingdom 

6

5

Stanford University 

United States 

7

7

ETH Zurich – Swiss Federal Institute of Technology 

Switzerland 

8

8

National University of Singapore (NUS) 

Singapore 

9

9

UCL 

United Kingdom 

10

15

California Institute of Technology (Caltech) 

United States 

11

12

University of Pennsylvania 

United States 

12

10

University of California, Berkeley (UCB) 

United States 

13

14

The University of Melbourne 

Australia 

14

=17 

Peking University 

China (Mainland) 

15

=26 

Nanyang Technological University, Singapore (NTU) 

Singapore 

16

13

Cornell University 

United States 

17

=26 

The University of Hong Kong 

Hong Kong SAR 

18

=19 

The University of Sydney 

Australia 

19

=19 

The University of New South Wales (UNSW Sydney) 

Australia 

20

25

Tsinghua University 

China (Mainland) 


ภาพรวมประเทศไทย

  • ประเทศไทย ศูนย์กลางวิชาการที่กำลังเติบโต
    สถาบันการศึกษากว่า 69% ของไทย มีคะแนนด้านชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) ที่ดีขึ้นในปี 2025 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ Top 100 ของโลกในตัวชี้วัดนี้ ซึ่งอยู่อันดับที่ 97
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
    มหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ (54%) มากกว่าครึ่ง ปรับอันดับดีขึ้นในตัวชี้วัดเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ว่า สถาบันการศึกษากำลังสร้างและรักษาความร่วมมือด้านการวิจัย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของโลกและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีความสำคัญไปสู่สาธารณะ
  • ช่องว่างสำหรับการพัฒนาโอกาสการมีงานทำ
    สถานการณ์การศึกษาไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อมหาวิทยาลัยไทยทุกแห่งประสบปัญหาคะแนนความเชื่อมั่นของ        นายจ้าง (Employer Reputation) ลดลง 100% ประกอบกับ ผลลัพธ์ด้านการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา (Employment Outcomes)      ถดถอยลงถึง 92% สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสการมีงานทำของบัณฑิตไทยที่น่าเป็นห่วง

    แม้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะยังคงรักษาอันดับ Top 100 ของโลกด้านผลลัพธ์การมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา แต่ก็ร่วงลงถึง 16        อันดับ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม

  • โอกาสในการพัฒนาผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน
    แม้ว่าผลด้านความยั่งยืน (Sustainability) จะไม่ใช่จุดที่ไทยทำคะแนนได้น้อยที่สุด แต่ตัวชี้วัดนี้ก็แสดงให้เห็นว่า สถาบันการศึกษากว่าสอง ในสาม ของประเทศมีคะแนนลดลง ซึ่งสวนทางกับเป้าหมายของประเทศไทยในการยกระดับผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนและการจัดแนวทาง

    ตามกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2565-2569 (UN Sustainable Development Cooperation            Framework 2022-2026)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS ประจำปี 2025 ครั้งนี้ ประเมินมหาวิทยาลัย 1,500 แห่ง จาก 106 ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยสหรัฐอเมริกาส่งสถาบันเข้าร่วมการจัดอันดับมากที่สุด โดยมีสถาบันที่ติดอันดับ 197 แห่ง ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร 90 แห่ง และจีน (แผ่นดินใหญ่) 71 แห่ง ประเทศไทยมีสถาบันที่ติดอันดับ 13 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 แห่ง มีอันดับดีขึ้น 5 แห่ง มีอันดับลดลง และอีก 5 แห่ง ยังคงอยู่ในอันดับเดิม ส่งผลให้ภาพรวมของประเทศไทยดีขึ้น 23%

QS World University Rankings 2025: ผลงานจัดอันดับของประเทศไทย

อันดับปี 2025

อันดับปี 2024

สถาบัน

229

211

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

=368

=382

มหาวิทยาลัยมหิดล

=567

=571

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

951-1000

951-1000

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

781-790

751-760

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

=596

=600

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

951-1000

951-1000

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

951-1000

901-950

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1401+

1201-1400

มหาวิทยาลัยนเรศวร

1201-1400

1201-1400

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

1201-1400

1201-1400

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

1201-1400

1201-1400

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1401+

1201-1400

มหาวิทยาลัยศิลปากร


เบน ซอว์เตอร์ รองประธานอาวุโสของ QS
 กล่าวว่า “การเติบโตของชื่อเสียงทางวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย ถือเป็นพัฒนาการที่ยอดเยี่ยมในฐานะที่ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เนื่องด้วยนักศึกษาและผู้ปกครองให้ความสำคัญกับทักษะและประสบการณ์ในสถานที่ทำงานมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ มอบให้เพื่อเตรียมความพร้อมบัณฑิตจบใหม่สู้งาน มหาวิทยาลัยไทยมีโอกาสที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรมและหลักสูตร เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาได้รับทักษะที่มีค่าที่นายจ้างต้องการ”

ภาพรวม: ประเทศไทย

เกณฑ์การวัด

น้ำหนัก

มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย

จัดอันดับตามตัวบ่งชี้

อันดับโดยรวม

ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ (Academic Reputation)

30 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

97th

229th

การยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation)

15 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

261st

229th

 สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา (Student to Faculty Ratio)

10 %

มหาวิทยาลัยมหิดล

126th

=368th

การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations Per Faculty)

20 %

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

760th

1201-1400

สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio)

5 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

615th

229th

สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ (International Faculty Ratio)

5 %

มหาวิทยาลัยมหิดล

963rd  

=368th

เครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network)

5 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

331st 

229th

ผลลัพธ์การจ้างงาน (Employment Outcomes)

5 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

60th

229th

ความยั่งยืน (Sustainability)

5 %

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

198th

229th

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย โดยขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในหกจากเก้าตัวชี้วัดของ QS มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับคะแนนสูงสุดในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งเน้นการสร้างงานที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 60 ของโลกในด้านผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน
  • สถาบันการศึกษากว่า 69% ของไทย ได้ขยับขึ้นในตัวชี้วัด ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงคุณภาพงานวิจัย แนวทางการเป็นพันธมิตรทางวิชาการ ผลกระทบเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรมทางการศึกษา และผลกระทบที่สถาบันเหล่านั้นมีต่อการศึกษาและสังคมโดยรวม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำผลงานได้โดดเด่นที่สุดในตัวชี้วัดนี้ โดยติด 1 ใน 100 อันดับแรกของโลกที่อันดับที่ 97
  • ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยไทยกว่าสองในสามจาก 13 แห่งที่ติดอันดับจะร่วงลงในตัวชี้วัด ด้านความยั่งยืน แต่มีถึง 8 แห่งที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลก มหาวิทยาลัยมหิดล พุ่งขึ้นถึง 195 อันดับในตัวชี้วัดนี้ โดยอยู่อันดับที่ 276 ของโลก ตามหลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อยู่อันดับที่ 198 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงครองอันดับสองในด้านคะแนนเฉลี่ยความยั่งยืนที่สูงที่สุดในเอเชีย
  • ประเทศไทยยังมีช่องว่างสำหรับการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการจ้างงานและการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม โดยมหาวิทยาลัยทั้งหมด 100% ของประเทศไทยมีคะแนนลดลงในตัวชี้วัด ด้านการยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation) และ 92% มีคะแนนลดลงใน ด้านผลลัพธ์การจ้างงาน (Employment Outcomes)
  • ประเทศไทยมีโอกาสในการพัฒนากลยุทธ์ในการทำให้เป็นสากล ทั้งในด้านวิชาการ ทางด้านนักศึกษา และสถาบันการศึกษาของไทยทั้ง 13 แห่งที่ติดอันดับนั้น ไม่มีแห่งใดที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลกในตัวชี้วัดอัตราส่วนของอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio) หรืออัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ (International Student Ratio) เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยระหว่างตัวชี้วัดทั้งสองนี้ ประเทศไทยติดอันดับหกประเทศล่างสุดในเอเชีย

ภาพรวม: ภูมิภาคเอเชีย

สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ติดอันดับ 10 อันดับแรกของโลกในอันดับล่าสุด จีนแผ่นดินใหญ่ครองอันดับหนึ่งในภูมิภาคที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากที่สุด และมีสัดส่วนของมหาวิทยาลัยที่ปรับอันดับดีขึ้นสูงสุด (69%) ในบรรดาประเทศ/ดินแดนที่มีสถาบันที่ติดอันดับมากกว่า 10 แห่ง ตามมาด้วยอินเดียที่ 61% ในทางกลับกัน ญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงมากที่สุด โดยมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 63% มีอันดับลดลง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดสิบปี อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังคงมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 200 อันดับแรกของภูมิภาคมากที่สุด ที่ 10 แห่ง ตามมาด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ 9 แห่ง และเกาหลีใต้ 7 แห่ง อินโดนีเซียโดดเด่นในเรื่องความมั่นคง โดยมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 65% รักษาอันดับไว้ได้ และ 35% ปรับอันดับดีขึ้น มาเลเซียมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 50% อันดับดีขึ้น 29% คงเดิม และ 21% อันดับลดลง

การเปรียบเทียบระดับภูมิภาค: เอเชียในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS ปี 2025

ประเทศ/เขตพื้นที่

อันดับมหาวิทยาลัย

% ที่พัฒนาขึ้น

% ไม่เปลี่ยนแปลง

%

ลดลง

ใหม่

Top 10

Top 20

Top 50

Top 100

Top 200

Top 500

Top 1000

Singapore

4

25

25

50

1

2

2

2

2

3

4

China (Mainland)

71

69

15

15

2

5

5

9

33

57

Hong Kong SAR

7

86

0

14

1

3

5

5

6

7

South Korea

43

37

28

35

1

5

7

13

29

Japan

49

16

20

63

2

4

10

13

28

Malaysia

28

50

29

21

1

5

8

19

Taiwan

27

26

44

30

1

1

8

14

India

46

61

24

9

3

2

11

31

Indonesia

26

35

65

0

5

10

Thailand

13

23

38

38

2

8

Macau SAR

2

100

0

0

2

2

Pakistan

14

57

21

21

2

10

Philippines

5

60

0

40

1

4

Brunei

2

50

0

50

1

2

Vietnam

6

67

17

0

1

1

4

Bangladesh

15

33

47

20

3

Sri Lanka

3

33

33

0

1

1

แผนภูมิด้านล่างแสดงการเปรียบเทียบโดยละเอียดของตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพต่างๆ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในหลายประเทศและดินแดนในเอเชีย

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS ปี 2025: การเปรียบเทียบระดับภูมิภาค: เอเชียโดยคะแนนเฉลี่ยต่อตัวบ่งชี้

ประเทศ/อาณาเขต

ไม่มีอันดับ HEi

คะแนนชื่อเสียงทางวิชาการ

คะแนนการยอมรับจากนายจ้า

คะแนน คะแนนอัตราส่วนอาจารย์

คะแนนการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ

คะแนนสัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ

คะแนนสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ

คะแนนเครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ

คะแนนผลลัพธ์การจ้างงาน

คะแนนความยั่งยืน

Global

1503

20.3

19.8

28.1

23.5

30.7

25.6

50.1

23.8

24.3

China (Mainland)

71

17.3

15.8

26.5

61.5

16.8

7.9

51.7

18.2

11.0

Japan

49

22.4

26.6

44.0

12.6

15.1

10.4

34.2

15.9

21.2

India

46

15.1

19.2

16.2

37.8

9.3

2.9

39.0

13.8

13.0

South Korea

43

19.2

23.4

56.1

26.1

11.6

17.7

30.7

14.5

30.2

Malaysia

28

23.1

29.2

37.3

12.9

34.6

46.3

43.4

9.7

19.7

Taiwan

27

19.2

23.5

24.4

18.0

10.9

11.0

26.3

21.3

21.6

Indonesia

26

16.8

24.8

23.1

1.5

26.9

2.8

15.5

16.0

9.2

Bangladesh

15

10.2

18.1

6.8

4.3

2.9

1.3

17.6

11.2

2.0

Pakistan

14

11.0

28.9

18.7

22.0

4.3

2.0

48.3

19.8

7.4

Thailand

13

21.9

11.9

17.2

4.5

7.6

2.2

40.5

19.5

27.5

Hong Kong SAR

7

60.3

35.4

61.5

78.0

99.8

96.1

56.7

53.6

66.0

Vietnam

6

10.5

15.9

4.6

18.6

11.1

1.3

57.6

20.3

8.1

Philippines

5

20.1

46.3

16.3

2.3

8.7

2.8

26.1

41.5

17.9

Singapore

4

52.8

46.0

64.7

67.6

100.0

77.1

58.3

53.9

55.2

Sri Lanka

3

9.4

13.3

6.3

2.8

1.1

1.2

18.7

30.5

7.7

Macau SAR

2

8.2

7.0

6.9

77.8

100.0

100.0

41.6

39.9

9.5

Brunei

2

17.8

7.6

90.7

9.9

100.0

26.2

25.7

35.6

7.1

ข้อสังเกตและข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ โดยมุ่งเน้นที่ผลงานระดับภูมิภาค:

ประเทศไทย: ผู้นำด้านความยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ทำคะแนนเฉลี่ยด้านความยั่งยืน (Sustainability) สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก สะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยไทยมีการนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้อย่างแข็งขัน นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของไทยยังอยู่ในประเภทเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) ซึ่งบ่งชี้ว่าความพยายามร่วมมือของมหาวิทยาลัยไทยกำลังส่งผลลัพธ์เชิงบวกและเริ่มสร้างผลกระทบที่สำคัญ

จีน (แผ่นดินใหญ่): ผู้นำด้านงานวิจัย

จีน (แผ่นดินใหญ่) มีความโดดเด่นในด้านการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations Per Faculty) โดยมีคะแนนสูงที่สุด (61.5) ในบรรดาประเทศเอเชียที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับตั้งแต่ 10 อันดับขึ้นไป สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงผลงานวิจัยที่แข็งแกร่งและอิทธิพลทางวิชาการที่สำคัญทั่วโลก นอกจากนี้ จีนยังมีคะแนนเครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) ที่น่าสังเกต (51.7) ซึ่งเน้นย้ำถึงความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศทั่วโลกอย่างกว้างขวาง

ญี่ปุ่น: โดดเด่นด้านวิชาการและนายจ้าง

ญี่ปุ่นมีความโดดเด่นในด้านชื่อเสียงทางวิชาการ (22.4) และชื่อเสียงจากภาคอุตสาหกรรม (26.6) สะท้อนถึงความนับถืออย่างสูงที่มีต่อมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นในแวดวงวิชาการและวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังตามหลังในด้านผลงานวิชาการต่ออาจารย์ (Citations Per Faculty) (12.6) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงผลกระทบด้านงานวิจัย

อินเดีย: ประสิทธิภาพที่สมดุลพร้อมพื้นที่สำหรับการเติบโต

ทางด้านอินเดีย แสดงผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างสมดุล แต่มีคะแนนในหลายด้านที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะคะแนนการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations Per Faculty) (37.8) ที่ค่อนข้างสูง ชี้ให้เห็นถึงผลงานวิจัยที่มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม อินเดียจำเป็นต้องยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในด้านอัตราส่วนของอาจารย์ต่างชาติ (9.3) และอัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ (2.9) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเวทีโลก

เกาหลีใต้: อัตราส่วนคณาจารย์ต่อนักศึกษาสูงสุด

ในบรรดาประเทศที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับตั้งแต่ 10 อันดับขึ้นไป เกาหลีใต้ โดดเด่นในภูมิภาค โดยเป็นอันดับ 1 ในด้านอัตราส่วนคณาจารย์ต่อนักศึกษา (56.1) สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมการเรียนที่เอื้ออำนวย โดยมีคณาจารย์ต่อนักศึกษามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอีกสัญญาณของจำนวนประชากรที่ลดลง ประกอบกับคะแนนชื่อเสียงจากภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง (23.4) แสดงถึงโอกาสการการจ้างงานที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษา

มาเลเซีย: ความเป็นเลิศในด้านความเป็นสากล

โดยทำคะแนนได้อย่างน่าประทับใจทั้งในด้าน สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio) โดยมีคะแนนที่น่าประทับใจทั้งในด้านอัตราส่วนคณาจารย์ต่างชาติ (34.6) และอัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ (International Students Ratio) (46.3) สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความดึงดูดต่อนักวิชาการและนักศึกษานานาชาติ อย่างไรก็ตาม คะแนนผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน (Employment Outcomes) (9.7) ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดตำแหน่งที่ดีขึ้นระหว่างการศึกษาระดับอุดมศึกษาและตลาดงาน

แม้คะแนนโดยรวมของมาเลเซียจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกใน 5 ตัวชี้วัด แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกในอีก 4 ตัวชี้วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาเลเซียมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกในด้านการอ้างอิงต่อคณาจารย์ (Citations per Faculty) มากกว่า 10 คะแนน และต่ำกว่าเกือบ 7 คะแนนในด้านเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสในการเติบโตด้านผลกระทบและความร่วมมือด้านงานวิจัย นอกจากนี้ คะแนนผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน (Employment Outcomes) ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 14 คะแนน ขณะที่คะแนนด้านความยั่งยืน (Sustainability) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก 4.6 คะแนน

ถึงแม้จะเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ แต่บางมหาวิทยาลัยในมาเลเซียก็ริเริ่มดำเนินการตามวาระด้านความยั่งยืนอย่างแข็งขัน ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมคือ โครงการ Purpose Learning with IMPACT Labs ของ Taylor’s University ซึ่งได้รับรางวัล QS Reimagine Education Awards 2023 ในประเภทความยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการนี้ยังได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก (Global Education Award) พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นนี้ต่อไป

อินโดนีเซีย: ประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้น

คะแนนที่โดดเด่นที่สุดของอินโดนีเซียคือ อัตราส่วนคณาจารย์ต่อพนักงาน (Faculty Staff Ratio) (26.1) แต่ยังมีช่องว่างในด้านการปรับปรุงอย่างมากในด้านการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations Per Faculty) (1.5) และอัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ (International Students Ratio) (2.8) ซึ่งด้านเหล่านี้ชี้ให้เห็นโอกาสในการยกระดับผลงานวิจัยและการมีส่วนร่วมในเวทีโลก ถึงกระนั้น อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่พัฒนาขึ้นมากที่สุดในรอบนี้

เขตปกครองพิเศษฮ่องกง(Hong Kong SAR) : ผู้นำด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฮ่องกง มีคะแนนสูงในหลายตัวชี้วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราส่วนคณาจารย์ต่างชาติ (99.8) อัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ (96.1) และการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (78.0) สิ่งนี้สะท้อนถึงความมุ่งเน้นระหว่างประเทศและผลกระทบด้านวิจัยที่แข็งแกร่ง ทำให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่โดดเด่น

สิงคโปร์: ยอดเยี่ยมในทุกตัวชี้วัด

แม้จะมีสถาบั/นที่ติดอันดับเพียงสี่แห่ง สิงคโปร์ก็ยังคงเป็นผู้นำในตัวชี้วัดสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิงคโปร์มีคะแนนสูงสุดในด้านอัตราส่วนคณาจารย์ต่างชาติ (100.0) อัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ (77.1) และการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (67.6) สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความดึงดูดใจระดับโลกอันทรงพลังของสิงคโปร์และการมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านงานวิจัย นอกจากนี้ คะแนนที่สูงในด้านผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน (53.9) และความยั่งยืน (55.2) สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิผลของนโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการจ้างงานของผู้สำเร็จการศึกษา

สรุปภาพรวมทั่วโลก

  • สหราชอาณาจักรมีมหาวิทยาลัยชั้นนำมากที่สุดในโลก ด้วย 3 ใน 5 อันดับแรก และโดดเด่นในอัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสูงเป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น
  • สหรัฐอเมริกายังคงรักษาชื่อเสียงระดับโลกตามการจัดอันดับของนายจ้างและนักวิชาการ
  • ระบบการศึกษาระดับสูงของแคนาดาโดดเด่นด้านความยั่งยืน โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งติดอันดับ 5 ของโลก รวมถึงมหาวิทยาลัยโทรอนโต
  • ออสเตรเลียเป็นผู้นำเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และมีสถาบัน 3 แห่งติดอันดับ 20 อันดับแรก
  • ใน 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำ 100 อันดับแรกของจีน มี 4 แห่งที่ขยับอันดับขึ้น มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่อันดับที่ 14 ซึ่งสูงที่สุด เพิ่มขึ้น 3 อันดับ
  • อินเดียประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง โดยมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 46 แห่งจากทั้งหมด 91% ขยับอันดับ คงที่ หรือเป็นสถาบันที่เพิ่งเข้าร่วมการจัดอันดับ
  • อินโดนีเซีย ปากีสถาน และตุรกี เป็นประเทศที่พัฒนาขึ้นมากที่สุด
  • ละตินอเมริกา มีมหาวิทยาลัย 4 แห่งติดอันดับ 100 อันดับแรก ได้แก่ Universidad de Buenos Aires, Pontificia Universidad Católica de Chile, Universidad Nacional Autónoma de México และ Universidade de São Paulo
  • KFUPM (อันดับที่ 101) ในซาอุดีอาระเบีย เป็นสถาบันอาหรับที่ติดอันดับสูงสุด เกือจะติด 100 อันดับแรก ในขณะเดียวกัน University of Cape Town (อันดับที่ 171) เป็นผู้นำของแอฟริกา

วิธีการจัดอันดับ

รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดอันดับสามารถดูได้ที่ QS World University Rankings 2025 methodology (topuniversities.com)

การจัดอันดับเต็มจะพร้อมเผยแพร่ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน เวลา 03:00 น. ตามเวลาไทย และสามารถดูได้ที่  https://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings/2025 

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2429773/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600

Source : QS Quacquarelli Symonds: ประกาศการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2025, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับ 1 ของไทยขึ้นแท่นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาการ

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.