ผู้บริโภคสิงคโปร์มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการเงินส่วนบุคคลมากกว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเดียวกัน

สิงคโปร์, 19 ส.ค. 2567 /PRNewswire/ — ผู้บริโภคสิงคโปร์มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการเงินส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อและช่องว่างในการเตรียมความพร้อมด้านการเงินในหมู่เยาวชนกลับกลายเป็นปัญหาสำคัญในรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) 2024 ฉบับล่าสุดของ UOB

ผู้ตอบแบบสอบถามชาวสิงคโปร์เกือบ 7 ใน 10 คน (68 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่าพวกเขามีความรู้สึกเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ตามรายงาน ACSS 2024 ของ UOB[1] และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาค 14 เปอร์เซ็นต์

ภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่องยังคงเป็นความกังวลหลักของผู้บริโภคอาเซียนในปีนี้ อย่างไรก็ดี ระดับความวิตกของชาวสิงคโปร์ที่มีต่อปัญหาทางการเงินซึ่งระบุไว้ในการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2567 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นเพราะการรับรองมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพ้นความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก อาทิ แพ็คเกจการรับประกัน คูปอง CDC และโครงการคูปอง GST

อย่างไรก็ดี ในประเด็นใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน ACSS 2024 พบว่าเยาวชนอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี มากกว่าหนึ่งในสี่คนไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทั่วไปใด ๆ ที่ระบุโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) และคู่มือการวางแผนการเงินพื้นฐานของอุตสาหกรรมการเงิน (คู่มือ) ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจต้องใช้ความพยายามร่วมกันมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความพร้อมทางการเงิน

“เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้บริโภคในประเทศมีทัศนคติที่ดีขึ้นในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เราผ่านพ้นความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคไปได้ โดยเฉพาะเยาวชนของเราซึ่งมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตทางการเงินมากที่สุด เป็นทัศนคติที่ประเทศไหน ๆ ก็ย่อมภูมิใจ” คุณ Jacquelyn Tan หัวหน้ากลุ่มบริการทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารยูโอบี กล่าว

“อย่างไรก็ดี ACSS 2024 ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องเสริมสร้างความพร้อมด้านการเงิน เราเชื่อว่าพวกเขากำลังดำเนินการในเชิงบวก เช่น การจัดสรรเงินสำรองฉุกเฉินและการลงทุนสำหรับอนาคต แต่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมด้านความคุ้มครองประกันภัยและการวางแผนมรดก เยาวชนสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในชีวิตไปพร้อม ๆ กับเฝ้าระวังสถานการณ์อันไม่คาดคิด และเราพร้อมช่วยให้พวกเขาบรรลุเส้นทางที่ปรารถนา เคียงคู่กับการสร้างเกราะป้องกันทางการเงินอันยั่งยืนสำหรับความไม่แน่นอนต่าง ๆ”

ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสิงคโปร์ลดลง ผู้บริโภคคาดหวังว่าสถานะการเงินจะดีขึ้นในเร็ววัน

ผู้บริโภคสิงคโปร์มีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องมาจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งเห็นได้จากอัตราส่วนตำแหน่งงานว่างต่อผู้หางานที่สูง โดยตัวเลขการเลิกจ้างยังคงควบคุมได้ นอกจากนี้ โมเมนตัมการเติบโตของสิงคโปร์อาจแข็งแกร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากอุปสงค์ภายนอกที่ปรับตัวดีขึ้น หากธนาคารกลางหลักในเศรษฐกิจขั้นสูงเริ่มหรือยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงเพิ่มกิจกรรมการลงทุนและการบริโภคในต่างประเทศ

ความรู้สึกดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอยครั้งใหญ่ในปีหน้า ซึ่งปรับตัวดีขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์เทียบรายปี จำนวนผู้บริโภคในสิงคโปร์ที่คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในระยะใกล้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค 12 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าเฉลี่ยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว

ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์มีความมั่นใจในสถานะทางการเงินของตนเองมากขึ้น โดย 78 เปอร์เซ็นต์คาดว่าจะมีฐานะทางการเงินที่ดีหรือดีขึ้นในปีหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว สำหรับประชากร Gen Z และ Y มีทัศนคติเชิงบวกมากที่สุด คิดเป็น 88 และ 81 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนประชากร Gen X  มีทัศนคติเชิงบวกเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 14 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 73 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มีทัศนคติซึ่งผ่อนคลายมากที่สุดถึง 54 เปอร์เซ็นต์

ผู้ตอบแบบสอบถาม 63 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นข้อกังวลหลักของผู้บริโภคในอาเซียน รองลงมาคือค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น (58 เปอร์เซ็นต์) และการลดลงของเงินออมและการถือครองทรัพย์สิน (52 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ ระดับดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณของอุปสรรคในการรับมือ สำหรับปัญหาทางการเงินแบบเดียวกัน ผู้บริโภคสิงคโปร์ดูเหมือนจะกังวลน้อยกว่าผู้บริโภคในภูมิภาค โดยสัดส่วนของผู้ที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 55 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชาชนซึ่งวิตกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและการออมหรือการถือครองทรัพย์สินที่ลดลงก็ปรับระดับลง 12 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 52 เปอร์เซ็นต์ และ 47 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

มาตรการสนับสนุนที่นำมาใช้ในปีงบประมาณ 2567 ของสิงคโปร์ อาทิ การให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่ครัวเรือน 600 ดอลลาร์ และการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 50 เปอร์เซ็นต์สำหรับปีนี้ ซึ่งกำหนดเพดานไว้ที่ 200 ดอลลาร์ มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของชาวสิงคโปร์ได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น แพ็คเกจการรับประกันและโครงการบัตรกำนัล GST เพื่อมอบโอกาสเพิ่มเติมแก่ครัวเรือนซึ่งมีรายได้น้อยถึงปานกลางจากต้นทุนที่สูงขึ้น อนึ่ง การบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากจุดสูงสุดในช่วงปลายปี 2565 ประกอบกับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งค่าซึ่งช่วยรักษาอำนาจซื้อของผู้บริโภคในท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กับการควบคุมเงินเฟ้อในประเทศ ทำให้สิงคโปร์มีความได้เปรียบเหนือประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค

สำหรับรายการหลักที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ระบุว่าใช้จ่ายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา[2] คือค่าสาธารณูปโภค (25 เปอร์เซ็นต์) ส่วนการเดินทางไปทำงานและการศึกษาของบุตรธิดาอยู่ในอันดับสอง (11 เปอร์เซ็นต์) และค่าอาหารในครัวเรือนอยู่ในอันดับสาม (7 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม มีจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มการใช้จ่ายสำหรับค่าสาธารณูปโภคและค่าอาหารในครัวเรือนลดลงอย่างมาก โดยลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้ว และลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ยังใช้จ่ายมากกว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเดียวกันในเชิงประสบการณ์ อาทิ การเดินทางเพื่อพักผ่อน รับประทานอาหารชั้นดี คอนเสิร์ต งานอีเวนต์และเทศกาล โดย 43 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาเพิ่มการใช้จ่ายสำหรับรายการดังกล่าวในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 35 เปอร์เซ็นต์ สำหรับประสบการณ์หลักที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ยินดีจ่ายมากขึ้น ได้แก่ กิจกรรมบันเทิง เช่น คอนเสิร์ตและเทศกาล การเดินทางเพื่อพักผ่อน และรับประทานอาหารชั้นดี ตามลำดับ

ระดับความพร้อมทางการเงินที่ไม่เพียงพอในหมู่เยาวชน

ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อสร้างอนาคตทางการเงินของตนเอง โดยคนรุ่น Gen Z มีความเสี่ยงมากที่สุด ในส่วนของความรู้ทางการเงินใหม่ การศึกษานี้สำรวจการจัดสรรเงินของผู้บริโภคโดยอิงตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือ[3]เป็นหลัก ได้แก่ การจัดสรรเงินสำหรับค่าใช้จ่ายสามถึงหกเดือนเป็นกองทุนฉุกเฉิน การทำประกันคุ้มครองการเสียชีวิต การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และโรคร้ายแรง การลงทุนเงินได้สุทธิอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับการเกษียณและเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ การทำพินัยกรรม ไปจนถึงการเสนอชื่อกองทุน CPF

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ สามข้อหรือทั้งสี่ข้อ และ 37 เปอร์เซ็นต์ปฏิบัติตามสองข้อ สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้บริโภค 35 เปอร์เซ็นต์ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ เพียงข้อเดียว ในขณะที่ 18 เปอร์เซ็นต์ไม่ปฏิบัติตามเลย โดย Gen Z คือกลุ่มประชากรที่น่ากังวลเป็นพิเศษ ซึ่ง 26 ปอร์เซ็นต์ไม่ปฏิบัติตามเลย แม้ว่าคนรุ่นดังกล่าวจะยังค่อนข้าง “ใหม่” กับการทำงานและอาจยังคงหาจุดยืนทางการเงิน อีกทั้งหลาย ๆ คนอาจต้องดิ้นรนกับค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อาทิ การแต่งงานและที่อยู่อาศัย แต่การไม่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันในชีวิตก็เป็นเรื่องที่น่าวิตก

ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉิน โดย 60 เปอร์เซ็นต์มีเงินสำรองอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คนรุ่น Gen X มีสถานะต่ำที่สุด โดยมีเพียง 54 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับคนรุ่น Gen Y (62 เปอร์เซ็นต์) คนรุ่น Gen Z (59 เปอร์เซ็นต์) และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (77 เปอร์เซ็นต์)

ในแง่ของการประกันภัย ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ โดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโรคร้ายแรงและการเสียชีวิต รวมถึงความพิการถาวร มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ระบุว่ามีความคุ้มครองโรคร้ายแรง โดยสัดส่วนของคนรุ่น Gen Z ลดลงเหลือเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของประกันภัยการเสียชีวิตและการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง มีผู้บริโภคชาวสิงคโปร์เพียง 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง และสำหรับกลุ่ม Gen Z มีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ Gen Z มากกว่าหนึ่งใน 10 คน (12 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่าตนเองไม่มีประกันภัยเลย

ในแง่ของการลงทุน ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ 56 เปอร์เซ็นต์ กันเงินอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อปีไว้สำหรับการลงทุน ที่น่ายินดีคือ Gen Z และ Y เป็นกลุ่มที่ขยันขันแข็งที่สุด โดย 55 และ 62 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การลงทุน ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกที่บ่งชี้ว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการเตรียมเงินสำหรับวัยเกษียณ ตลอดจนเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ อย่างเหมาะสม

ในแง่ของการวางแผนมรดก ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ครึ่งหนึ่งได้เสนอชื่อบุคคลให้เข้าร่วมโครงการ CPF โดยจำนวนลดลงเหลือ 1 ใน 5 (19 เปอร์เซ็นต์) เมื่อต้องทำพินัยกรรม ซึ่งอาจเพราะเป็นวัยรุ่น ประชากร Gen Z และ Y จึงเตรียมตัวน้อยกว่าคนรุ่นก่อน โดยมีเพียง 29 เปอร์เซ็นต์และ 43 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เสนอชื่อบุคคลให้เข้าร่วมโครงการ CPF ตามลำดับ เมื่อเทียบกับประชากร Gen X (64 เปอร์เซ็นต์) และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (74 เปอร์เซ็นต์) สำหรับการร่างพินัยกรรม มีประชากร Gen Z เพียง 10  เปอร์เซ็นต์ และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ที่เตรียมพินัยกรรมไว้แล้ว สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ประชากร Gen X เพียง 25 เปอร์เซ็นต์ และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 35 เปอร์เซ็นต์เตรียมพินัยกรรมไว้แล้ว แม้จะมีข้อห้ามหรือขาดความรู้ที่ถูกต้องก็ตาม

UOB มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนลูกค้าของเราในทุกช่วงชีวิต เราขอแนะนำให้ลูกค้าของเราอ้างอิงจากคู่มือ และติดต่อเราหากต้องการความช่วยเหลือในการวางแผนการเงิน แบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการออม การลงทุน และการคุ้มครองประกันภัยนั้นเป็นไปได้ในทุกช่วงวัยและทุกระดับรายได้สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้เกษียณอายุ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าปกป้องและเพิ่มพูนเงินของตนให้สูงสุดในแบบที่ปลอดภัยและยั่งยืน

เกี่ยวกับ UOB

UOB เป็นธนาคารชั้นนำในเอเชีย โดยมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์และบริษัทสาขาธนาคารในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม UOB มีเครือข่ายทั่วโลกกว่า 500 สำนักงานใน 19 ประเทศและเขตการปกครองในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2478 เราเติบโตอย่างเป็นค่อยเป็นค่อยไปและผ่านการซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ปัจจุบัน UOB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำของโลก: Aa1 โดย Moody’s Investors Service และ AA- โดยทั้ง S&P Global Ratings and Fitch Ratings

เป็นเวลาเกือบเก้าทศวรรษที่ UOB ได้ใช้แนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างมูลค่าในระยะยาวโดยยังคงไม่ลืมจิตวิญญาณแห่งการริเริ่มและดำเนินการอย่างถูกต้องเพื่อลูกค้า เรามุ่งรังสรรค์อนาคตของอาเซียนเพื่อประชาชนและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว

ธนาคารเชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับโอกาสต่าง ๆ ด้วยฐานการดำเนินงานระดับภูมิภาคที่ไม่มีใครเทียบได้ รวมถึงใช้ประโยชน์จากรายละเอียดและข้อมูลเชิงลึกเพื่อรังสรรค์นวัตกรรมและประสบการณ์การธนาคาร ตลอดจนโซลูชันเฉพาะบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการแต่ละรูปแบบ อีกทั้งรสนิยมของลูกค้าแต่ละรายที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ UOB ยังมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สร้างอนาคตที่ยั่งยืนด้วยการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางสังคม สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และแสวงหาความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ UOB เชื่อมั่นในการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นในการสนับสนุนศิลปะ การพัฒนาสังคมของเด็กและการศึกษา รวมทั้งทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ภาคผนวก

รายงาน ACSS 2024 ของ UOB จัดทำขึ้นโดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 5,000 ราย อายุระหว่าง 18 ถึง 65 ปี จากอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม การสำรวจนี้ดำเนินการทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ร่วมกับ Boston Consulting Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก

แบบสำรวจแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็น 4 ช่วงอายุ ได้แก่ Gen Z (อายุ 18 ถึง 25 ปี) Gen Y (อายุ 26 ถึง 41 ปี) Gen X (อายุ 42 ถึง 57 ปี) และเบบี้บูมเมอร์ (อายุ 58 ถึง 65 ปี)

[1] รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยของ UOB ACSS 2024 รวมถึงการแบ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามตามรุ่นประชากร สามารถดูเพิ่มเติมได้ในภาคผนวก

[2] คะแนนที่ได้มาจากความแตกต่างสุทธิระหว่างเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งระบุว่าใช้จ่ายในหมวดหมู่หนึ่ง ๆ มากขึ้นในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วง 6 ถึง 12 เดือนที่ผ่านมา กับผู้ที่ระบุว่าใช้จ่ายน้อยลง

[3] รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่มือการวางแผนการเงินขั้นพื้นฐานของ MAS สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

Source : UOB เผยผู้บริโภคในสิงคโปร์มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและการเงินส่วนบุคคล ส่วนเยาวชนยังขาดความพร้อมด้านการเงิน

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.