หัวเว่ยนำเสนอเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงไร้การสูญเสียข้อมูลแบบอัจฉริยะ ยกระดับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
เซินเจิ้น, จีน, 18 ตุลาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต "ฉันต้องทำงานนี้ให้ทันกำหนดเวลา แต่ต้องรอคิวประมวลผลนานมาก แล้วจะทำอย่างไรดีตอนนี้" "เดดไลน์การทดลองของฉันคือสัปดาห์หน้า แต่ฉันเพิ่งสังเกตเห็นว่าข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง และต้องใช้เวลามากกว่า 100 ชั่วโมงเพื่อรันแบบจำลองอีกครั้ง มันทำให้เร็วขึ้นได้ไหม" "การทดลองนี้สำคัญมาก และใกล้ถึงกำหนดเวลาส่งแล้ว ช่วยทำงานของฉันก่อนได้ไหม" ปัญหาที่นักวิจัยวิทยาศาสตร์ต้องเผชิญไม่ได้มีเพียงการเคลื่อนที่ของโมเลกุล องค์ประกอบของดีเอ็นเอ การทดสอบในอุโมงค์ลม การทดลองการสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน หรือการทดสอบแบบจำลองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด และการประสานงานระหว่างการรอคอยทรัพยากรที่ยาวนาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) และลดต้นทุนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะของมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดให้มีการประเมินผู้ให้บริการ เพื่อเลือกเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงอัจฉริยะไร้การสูญเสียข้อมูล (lossless) ของหัวเว่ย (Huawei) อยู่ในอันดับที่ 1 เนื่องจากมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่ไม่มีใครเทียบได้ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นผู้นำในการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในหมู่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศจีนหลังการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในปี 2506 ต่อมาในปี 2544 มหาวิทยาลัยฯ ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ เพื่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเป็นแพลตฟอร์มการวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพที่สามารถให้บริการกิจกรรมการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ในปี 2561 ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงแบบสาธารณะ ประกอบด้วยคลัสเตอร์ 3 กลุ่มที่เริ่มมีการนำมาใช้งาน […]